วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อุตสาหกรรมอาหารของไทยและจีน



สนับสนุนเนื้อหาโดย

    ภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทยและจีน




      ปี 2560 มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่า มูลค่าส่งออก อาหารไทยน่าจะแตะที่ตัวเลข 2 ล้านล้านบาท อาหารไทย ส่งออกไปยัง 6 ทวีป รวม 222 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทย ได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารติดอันดับหนึ่งของโลก หลายรายการ นอกจากนี้ภาครัฐได้มีนโยบายผลักดันอาหารไทย สู่ครัวโลก ทำให้สินค้าอาหารไทยได้รับการพัฒนาให้สอดคล้อง กับตลาดในยุคปัจจุบัน ปี 2558 การรวมตัวเป็นตลาดเดียวของประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน หรือเออีซี ยิ่งทำให้อาหารไทยมีความโดดเด่นมากขึ้น เพราะอาหารของไทยมีศักยภาพสูงในการแข่งขันในตลาด อาเซียน และปัจจัยที่ทำให้อาหารไทยมีศักยภาพสูงเป็นเพราะ ปริมาณวัตถุดิบมีเพียงพอและมีคุณภาพดี มีทักษะความ ชำนาญของผู้ผลิต มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และราคาแข่งขันได้ ประเทศไทยจะเป็นครัวเอกที่ผลิตและสร้างสรรค์สินค้า อาหารที่ได้มาตรฐานระดับโลก และยกระดับอาหารไทยให้เป็น อาหารจานโปรดคนทั้งโลก ความได้เปรียบในด้านของรสชาติ อาหารที่ได้รับการยอมรับในเวทีโลกเป็นปัจจัยสำคัญ ประกอบ กับหากมีการดำเนินนโยบายและโครงการสนับสนุน เพื่อ ขับเคลื่อนให้อาหารไทยกลายเป็นอาหารจานโปรดของคน ทั่วโลก ก็เป็นสิ่งที่สามารถจะเป็นจริงได้ในอนาคตอันใกล้นี้

จากการที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย มีรากฐานมาจากภาคการเกษตรมาเป็นระยะเวลานาน นับตั้งแต่ระยะแรกของการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย โดยเริ่มต้นจากการแปรรูปสินค้าขั้นปฐม ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา    อุตสาหกรรมการเกษตรมีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแปรรูปต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นการผลิตสินค้าประเภทอาหารแปรรูป ซึ่งมีทั้งการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ และเพื่อการส่งออก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรต่างๆมาเพิ่มผลิตภาพ โดย ลักษณะเด่นของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปจะควบคู่กับการพัฒนาของระบบเศรษฐกิจ คือการเป็นอุตสาห-กรรมที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรขั้นปฐม (primary product) ซึ่งสินค้าที่ผ่านการแปรรูปดังกล่าว อาจจะอยู่ในรูปของสินค้าขั้นกลาง (intermediate product) ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปแปรรูปอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะนำมาบริโภคหรือในรูปสินค้าขั้นสุดท้าย (final product) ที่สามารถบริโภคได้เลย นอกจากนั้นยังเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในสัดส่วนที่สูงอีกด้วย (resource base industry) และนำมาซึ่งเงินตราต่างประเทศจำนวนมากในแต่ละปี 

อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยทั่วไปจะเน้นการใช้แรงงาน (labor intensive) จึงเท่ากับว่าการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ช่วยเพิ่มการมีงานทำ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเกิดปัญหาเกี่ยวกับแรงงานไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาค่าแรงที่สูงขึ้นหรือปัญหาการขาดแคลนแรงงานก็จะเป็นอุปสรรคที่สำคัญสำหรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมนี้
ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิต และส่งออกสินค้าอาหารที่มีคุณภาพดี และมีชื่อเสียงที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการผลิตเพื่อการส่งออก มีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบ รวมถึง ศักยภาพของผู้ประกอบการไทย ที่สามารถพัฒนาคุณภาพ และรูปแบบของสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาดได้ ทำให้ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปในอันดับต้น ๆ ของโลกหลายรายการ อาทิเช่น ไก่แช่แข็ง กุ้งแช่แข็ง และ ทูน่ากระป๋อง เป็นต้น ในขณะที่ประเทศจีนได้มีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจมานับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 โดยได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น ทั้งนี้ประเทศจีนมีการตั้งเป้าหมายทางนโยบายเกี่ยวกับอาหารเพื่อให้ประเทศจีนมีอุปทานอาหารอย่างเพียงพอ มีเสถียรภาพทางด้านราคาอาหาร เพิ่มรายได้ให้กับผู้ผลิตอาหารในประเทศจีน และมีการค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้นสถานะของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของจีนและไทยที่จะศึกษาในที่นี้ประกอบด้วยอุตสาหกรรมไก่แช่เย็นและแช่แข็งและอุตสาหกรรมกุ้งแช่เย็นและแช่แข็ง

1.1   อุตสาหกรรมไก่แช่เย็นและแช่แข็ง (HS.020714)
1.1.1 ปริมาณการผลิต


ปริมาณการผลิตเนื้อไก่ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอดในช่วงปี 2540-2545 (ตารางที่ 1.1) โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.0 ต่อปี โดยประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้ผลิตเนื้อไก่มากที่สุด คือในปี 2545 มีปริมาณการผลิต 14,382,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 31.2 ของปริมาณการผลิตทั้งโลก รองลงมาคือ ประเทศ
บราซิลและสหภาพยุโรป โดยมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือประมาณร้อยละ 15.3  และ 15.1 ตามลำดับ ส่วนประเทศจีนมีสัดส่วนในการผลิตเนื้อไก่ประมาณร้อยละ 11.7 ในขณะที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตเนื้อไก่มากเป็นอันดับที่ 6 ของโลก โดยมีปริมาณการผลิตในปี 2545 จำนวน 1.3 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 2.9 ของปริมาณการผลิตทั้งโลก



ครื่องจักรสำคัญสำหรับการผลิตอาหาร
เครื่องอัดลมหรือ ปั้มลมแบบไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR)

เป็นปั๊มลมที่ใช้ตัวไดอะแฟรมทำให้การทำงานของลูกสูบและหัวดูดอากาศแยกออกจากกัน ดังนั้นลมที่ถูกดูดเขาในปั๊ม หรืออัดอากาศ จะไม่ได้มีการโดนหรือสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ และลมที่ได้จะไม่มีการผสมน้ำมันหล่อลื่นแต่จะไม่สามารถสร้างแรงดันได้สูง ข้อดีคือลมที่ได้จากปั๊มประเภทนี้จึงมีความปลอดภัยมาก ไม่มีสารตกค้าง เช่น น้ำมัน หรือส่วนเกินจากวัตถุดิบและมักใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเคมี และอาจะใช้ในการอุสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำเนื่องจากเสียงที่เงียบกว่าแบบลูกสูบ

นวโน้มสำคัญ “ความสวยงามในการมีผิวพรรณและรูปร่างที่ดี” ยังคง เป็นแนวโน้มสำคัญอย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคคนไทย แม้ว่า พฤติกรรมการบริโภคโดยส่วนใหญ่จะสวนทาง ที่มักจะบริโภค ตามใจปาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากจำนวนคนอ้วนที่เพิ่มขึ้น ปีละ 4 ล้านคน (กระทรวงสาธารณสุข, 2556) ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ อาหารเพื่อสุขภาพ ที่อร่อยแต่ไม่เสียสุขภาพ และช่วยให้เกิด ความสวยงามต่อผิวพรรณ และรูปร่างดี จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ผู้บริโภคมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ การนำเข้า ทิศทางการนำเข้าคาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เหมือนใน ช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยมูลค่านำเข้าเฉลี่ยอยู่ที่ 4 แสนล้าน บาทต่อปี โดยสินค้านำเข้าร้อยละ 60 เป็นวัตถุดิบในโรงงาน แปรรูป เช่น ปลาทูน่า ปลาทะเลแช่แข็ง ข้าวสาลี แป้งสาลี และ กากถั่วในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เป็นต้น และส่วนอีกร้อยละ 40 ที่นำเข้ามาใช้บริโภคโดยตรง ได้แก่ ผัก ผลไม้สด เนื้อสัตว์ ขนมขบเคี้ยว ช็อกโกแลต และอาหารสำเร็จรูปสำหรับผู้ป่วย เป็นต้น (สถาบันอาหาร, 2556) การส่งออก ในปี 2557 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะอยู่ที่ 970,000 ล้าน บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่มีมูลค่า ประมาณ 913,000 ล้านบาท (สถาบันอาหาร, 2556) โดยปัจจัย สำคัญที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการส่งออก คือ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพ ยุโรป มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการค้ากับ อาเซียน ซึ่งนับวันจะมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมอาหารของ ไทยเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ (ในปี 2556 ไทยส่งออกไปอาเซียน ประมาณร้อยละ 22 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) นอกจาก นั้นปัจจัยสนับสนุนในเรื่องค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ผลผลิตเพื่อการส่งออกที่สำคัญของไทยคาดว่ายังคงเป็น สินค้าส่งออก 5 อันดับแรกเหมือนในปี 2556 ได้แก่ ข้าว น้ำตาล ทราย ปลาทูน่ากระป๋อง ไก่ และ กุ้ง ในปี 2557 คาดว่าแนวโน้ม ส่งออกจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ส่งออก ที่โดดเด่น ได้แก่ ไก่ คาดว่าจะส่งออกไก่เพิ่มขึ้นถึง 650,000-700,000 ตัน มูลค่า ส่งออกประมาณ 80,000 ล้านบาท โดยปัจจัยผลักดันสำคัญมา จากญี่ปุ่น เปิดการนำเข้าไก่ไทย นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556 เป็นต้นมา หลังจากห้ามนำเข้ามาตั้งแต่ปี 2547 ในช่วงที่มี ไข้หวัดนกระบาดในไทย สิ่งดังกล่าวช่วยสร้างความเชื่อมั่น ไก่ไทยมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศอื่นๆ พิจารณานำเข้า ไก่ไทยมากขึ้นตามไปด้วย อาทิ เกาหลีใต้ ประกอบกับไก่ เป็น อาหารโปรตีนที่ราคาไม่สูงเกินไป ทำให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภค (สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย, 2557)


สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com



บริการให้เช่าเครื่องอัดลม ปั๊มลม ( Second-Hand Screw Compressor )

บริษัทฯ มีเครื่องอัดลมมือสอง ปั๊มลมมือสอง พร้อมอุปกรณ์ประกอบทั้งระบบไว้สำหรับขาย, ให้เช่า และไว้สำหรับบริการเป็นเครื่องสำรองขณะซ่อมหรือ โอเวอร์ฮอร์น ( Atlas Copco, Kaeser มีทั้งแบบ Oil Lubricant & Oil Free ) มีขนาดตั้งแต่ 15-200 แรงม้า สำหรับโรงงานที่ต้องการเช่าเครื่องอัดลมในระยะเวลานาน 3-5 ปี บริษัทฯ สามารถจัดเครื่องใหม่ให้ท่านเช่าพร้อมเครื่องใหม่สำรองในกรณีที่เช่าตั้งแต่ 5 เครื่องขึ้นไป  Ingersoll Rand

อุตสาหกรรมรถยนต์ ไทยควรผลิตรถหรู ?

สนับสนุนเนื้อหาโดย

   



  อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์สูง ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นและกลุ่มชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มตลาดที่สำคัญจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ BRIC คือ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ซึ่งเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลกและเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง

แนวโน้มความต้องการยานยนต์จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ

• ตลาดประเทศพัฒนาแล้ว จะต้องการยานยนต์ที่มีความหรูหรา คุณภาพสูง และเป็นมิตรต่อ

สิ่งแวดล้อม เช่น กลุ่มประเทศยุโรป และกลุ่มประเทศ BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน)

ตลาดประเทศกำลังพัฒนา จะต้องการยานยนต์ราคาถูก ค่าบำรุงรักษาต่ำ คุณภาพสมราคา เช่น กลุ่มประเทศแอฟริกา กลุ่มประเทศมุสลิม
เทคโนโลยีด้านยานยนต์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตามความต้องการยานยนต์ของผู้บริโภคที่
เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ โดยเฉพาะความต้องการยานยนต์ที่สอดคล้องกับกระแสการรักษาสภาพแวดล้อมและการประหยัดพลังงานเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการเลือกบริโภค ดังจะเห็นได้ชัดในกลุ่มประเทศยุโรปที่มีการลดระดับความนิยมลงในรถยนต์หรูหราขนาดใหญ่ และให้ความสำคัญกับการใช้รถยนต์ที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตมากขึ้น เช่น การใช้รถยนต์ขนาดเล็กที่ประหยัดพลังงานและค่าบำรุงรักษาที่ต่ำ เพื่อการเดินทางในเขตเมือง เป็นต้นจากความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของโลกต้องพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และผลจากการใช้เทคโนโลยีระดับสูงผนวกเข้ากับยานยนต์เพิ่มมากขึ้น ทำให้กระบวนการผลิตต้องเพิ่มการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีระดับสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และแรงงานฝีมือในอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีความรู้หลากหลายสาขาและปรับตัวจากทักษะการประกอบเปลี่ยนเป็นทักษะการควบคุมเครื่องจักรระดับสูงมากยิ่งขึ้น และเพื่อการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตและการพัฒนาสินค้าจะทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เกิดการควบรวมกิจการและจะพัฒนายานยนต์ในลักษณะ High-volume global platformเพื่อใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะทำให้มีจำนวนฐานการผลิตลดลงและกระจุกตัว ซึ่งภายใน 10 ปีข้างหน้า ทวีปเอเชียจะยังเป็นศูนย์กลางที่สำคัญในการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของโลก โดยเฉพาะประเทศจีนและอินเดียที่มีแรงงานและต้นทุนการผลิตต่ำ และมีความต้องการสินค้ายานยนต์ภายในประเทศสูง และหลังจาก 10 ปีนี้ กลุ่มประเทศแอฟริกาจะมีความโดดเด่นมากขึ้นในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่มีปริมาณแรงงานมากและต้นทุนการผลิตต่ำประเทศไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์มานานกว่า 40 ปี และได้รับการยอมรับให้เป็นประเทศฐานการผลิตที่มีคุณภาพ ทั้งยังเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน และเป็นประเทศฐานการผลิตรถปิกอัพไม่เกิน 1 ตันเป็นอันดับ 1 ของโลก เพื่อรักษาศักยภาพในการแข่งขันและสร้างจุดยืนที่มั่นคงของประเทศไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของโลก ได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไว้ดังนี้ “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์แห่งเอเชียสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศโดยมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนที่มีความเข้มแข็ง” โดยผู้ประกอบการในประเทศไทยจะต้องปรับตัวและพัฒนาตนเองให้ทันกับเทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของประเทศไทยให้มากที่สุด เพื่อรักษาจุดยืนของประเทศไทยในการเป็นประเทศฐานการผลิตหลักของเอเชียแปซิฟิคแนวโน้มของการพัฒนาสินค้ายานยนต์นั้น ประเทศไทยจะต้องมุ่งเน้นไปที่สินค้าหลัก 4 ชนิด คือรถปิกอัพไม่เกิน 1 ตัน รถยนต์นั่งขนาดเล็กคุณภาพสูง รถจักรยานยนต์ และอะไหล่และชิ้นส่วนตกแต่ง โดยประเทศไทยควรจะขยายบทบาทจากการเป็นฐานการประกอบยานยนต์ไปสู่การมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์และระบบสำเร็จรูปที่สำคัญสำหรับยานยนต์ในอนาคต คือ รถไฮบริด รถไฟฟ้า และรถ fuel cell อีกด้วย ซึ่งระบบและอุปกรณ์ของยานยนต์ในอนาคตเหล่านี้จะมีบทบาทในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในอนาคตเป็นอย่างมาก ประเทศไทยควรส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับโลกให้สร้างฐานการผลิตอุปกรณ์

และระบบที่สำคัญในประเทศไทย และมุ่งให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการไทยเพื่อสร้างฐานความรู้ด้านเทคโนโลยียานยนต์ในประเทศไทยแนวทางในการพัฒนาให้ประเทศไทยสามารถก้าวเข้าสู่การเป็นฐานการผลิตแห่งเอเชียได้นั้นจะประกอบด้วย 4 แนวทางหลัก โดยจะมีการวางแนวทางการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้งกับผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย และมีรายละเอียดดังต่อไปนี้






รูปที่ 12 สรุปแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์

(1) ยกระดับฝีมือแรงงานเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและรองรับเทคโนโลยีในอนาคต
ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ขาดแรงงานประมาณ 100,000 คน  และการพัฒนาต้นทุนด้านเครื่องจักร เช่น เครื่องอัดอากาศ (ปั๊มลม) ไฮดรอลิก นิวเมติกส์ และประเทศไทยมี
แนวโน้มที่จะขาดแคลนแรงงานฝีมือมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพื่อคงไว้ซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จำเป็นต้องมีการยกระดับฝีมือแรงงานในทุกแขนง เพื่อยกระดับความสามารถในการผลิต และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระดับโลก นอกจากการเร่งพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนในปัจจุบันแล้ว จะต้องวางแนวทางการพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับเทคโนโลยียานยนต์ในอนาคตที่จะมีเทคโนโลยีระดับสูงเพิ่มขึ้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถสื่อสารความต้องการทักษะแรงงานแก่สถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกันและร่วมประเมินผลคุณภาพหลักสูตรและผู้จบการศึกษาเพื่อการพัฒนาฝึมือแรงงานในอนาคต และเพื่อสร้างความมั่นคงและความก้าวหน้าในสายอาชีพแก่แรงงาน จึงจำเป็นต้องพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพของแรงงาน (Career path) ให้ชัดเจนจะทำให้แรงงานฝีมือรับรู้ว่าอาชีพการงานมีความมั่นคงและสามารถพัฒนาอาชีพการงาน เพื่อแก้ไขปัญหาด้านทัศนคติของแรงงาน รวมถึงการสร้างมาตรฐานการรับรองทักษะฝีมือแรงงาน (Skill certification) โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ และภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างมาตรฐานแรงงานที่เป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วนและกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เหมาะสมตามความรู้ความสามารถของแรงงาน ก็จะสร้างความมั่นคงในอาชีพและความก้าวหน้าในสายอาชีพแก่แรงงานเพิ่มมากขึ้น


(2) พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศและสร้างการพึ่งพาเทคโนโลยีภายในประเทศการวางนโยบายระยะยาวต้องมีความชัดเจน เพื่อส่งสัญญาณที่ดีแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทำให้เกิดความเชื่อมั่นและเกิดการลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้จะต้องทบทวนโครงการหรือมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ และความโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการทุกระดับ โดยเฉพาะนโยบายพลังงานสำหรับยานยนต์ที่ชัดเจน พิจารณาโครงสร้างภาษีโดยมีการประเมินความคุ้มค่าของมาตรการต่าง ๆ อย่างรอบคอบ และสร้างความเป็นธรรแก่ผู้ประกอบการในประเทศทั้งผู้ประกอบการไทย และผู้ประกอบการต่างชาติการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศ สามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต โดยมีผู้ประกอบการไทยเป็นผู้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่และผู้ประกอบการวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สามารถเน้นการสร้างมูลค่า (Value Creation) ให้เกิดผลประโยชน์ภายในประเทศสูงสุด

โดยมี
แนวทางในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ของประเทศไทย ดังนี้

• ผลิตและส่งออกรถยนต์ไฮบริดและรถไฟฟ้า รวมถึงชิ้นส่วนและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น
แบตเตอร์รี่ ระบบชาร์จไฟฟ้า ระบบเปลี่ยนแบตเตอร์รี่ สถานีชาร์จไฟฟ้า เป็นต้น
• ดึงดูดความสนใจบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำของโลก เพื่อให้เกิดฐานการผลิตชิ้นส่วน
เทคโนโลยีระดับสูง และส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการไทย และพัฒนาให้เกิดฐาน
การวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนในประเทศไทย
• สร้างมาตรฐานความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยเทียบเท่ากับกลุ่มประเทศยุโรปเพื่อ
สร้างภาพลักษณ์สินค้ายานยนต์คุณภาพสูง
• เตรียมความพร้อมในการพัฒนารถ Fuel Cell ใน 20 ข้างหน้า
และเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการไทยเพื่อการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์
และกระบวนการผลิต ศูนย์ทดสอบและสนามทดสอบมีจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากมาตรฐานด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมจะมีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น สินค้ายานยนต์จึงจำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานและคุณภาพอย่างเข้มงวดโดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไปยังประเทศพัฒนาแล้วในอนาคต เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานและการต้องการความรวดเร็วและแม่นยำในการผลิตเครื่องจักรการผลิตจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น แต่ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าเครื่องจักรการผลิตจากต่างประเทศโดยในปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยต้องนำเข้าเครื่องจักรเป็นมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ดังนั้นในเบื้องต้น เพื่อลดการสูญเสียดุลการค้าจากการนำเข้าเครื่องจักร จึงควรให้การสนับสนุนการพัฒนาเครื่องจักรการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ซึ่งจะต้องมุ่งเน้นไปที่เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีไม่สูงมากนัก และเป็นเครื่องจักรที่ใช้งานเพื่อชดเชยการขาดแคลนแรงงาน เช่น ระบบ Automation ในคลังสินค้า แขนกลยกสินค้า รถขนสินค้าเดินตามสาย เป็นต้น ตลอดจนผลักดันหน่วยงานที่จะสามารถสนับสนุนด้านเงินทุน และการจัดหาเครื่องจักรแก่ผู้ประกอบการไทย

(3) เชื่อมโยงอุตสาหกรรมสร้างความมั่นคงทางวัตถุดิบต้นน้ำเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรม
ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
ผลักดันให้มีแนวทาง และผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในการสนับสนุนอุตสาหกรรมวัตถุดิบต้นน้ำภายในประเทศ
เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมภายในประเทศ และสร้างความเชื่อมโยงวัตถุดิบต้นน้ำกับกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบต้นน้ำแก่อุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมวัตถุดิบต้นน้ำโดยเฉพาะเหล็กและโลหะต่าง ๆ มักได้รับการต่อต้านจากชุมชนว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สกปรกและทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว วัตถุดิบต้นน้ำที่สำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ คือเหล็กและโลหะขั้นกลาง และอุตสาหกรรมการแปรรูปเหล็กและโลหะขั้นกลางเป็นอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่สะอาดแตกต่างจากอุตสาหกรรมการถลุงเหล็กและโลก ดังนั้น จำเป็นต้องทำความเข้าใจกับชุมชนว่าอุตสาหกรรมวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่แท้จริงคืออะไร สามารถควบคุมสภาวะสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร และภาครัฐจะต้องมีมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดเพื่อให้ชุมชนสามารถมั่นใจในการดำเนินการของอุตสาหกรรมว่าจะไม่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนโดยรอบ

(4) ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศไทย
กำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุนในภาพรวมของอุตสาหกรรม ที่สามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมใน
ประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการวางนโยบายระยะยาวของภาครัฐจะต้องมีความชัดเจนและกำหนดเงื่อนไขในการปรับเปลี่ยนอย่างชัดเจนซึ่งจะส่งสัญญาณที่ดีแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทำให้เกิดความเชื่อมั่นและเกิดการลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ภาครัฐจะต้องทบทวนโครงการหรือมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจและความโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการทุกระดับ และเพื่อให้ทิศทางการสนับสนุนเทคโนโลยียานยนต์เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง จำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางหรือคณะกรรมการกลางที่มีตัวแทนจากภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ โดยมีสถาบันยานยนต์เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานระหว่างรัฐและเอกชน
การพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวทางดังกล่าวมาเบื้องต้น จำเป็นที่จะต้องมีการวางกรอบระยะเวลาในการ
พัฒนาที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและตอบสนองต่อเทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสร้างความต่อเนื่องในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรักษาการเป็นฐานการผลิตยานยนต์คุณภาพสูงของเอเชียในอนาคต


สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

สนับสนุนเนื้อหาโดย

        ทางด้านการพัฒนาสินค้าของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับนั้น ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของ
สินค้าที่มีตราสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ตราสินค้าพลอยไทย เป็นต้น รวมไปถึงการพัฒนาภาพลักษณ์ของประเทศ
ให้เป็นผู้ที่สามารถออกแบบสินค้าให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสามารถเป็นผู้กำหนดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของ
แฟชั่นได้ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเน้นการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าอัญมณีและ
เครื่องประดับของโลก โดยสามารถเป็นแหล่งการค้าขายขนาดใหญ่รองลงมาจากฮ่องกง ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานด้าน
ต่างๆ เช่น ระบบภาษีศุลกากร และระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น สามารถรองรับการเป็นแหล่งค้าขายอย่างเสรีได้ใน
อนาคต อีกทั้งยังมีระบบต่างๆ และภาพลักษณ์ต่างๆ ที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ประเทศไทยได้
เช่น ภาพลักษณ์ของความโปร่งใส ซื่อสัตย์ และความเสรีทางด้านการทำธุรกิจ เป็นต้น
จากการกำหนดทิศทางแนวโน้มเป้าหมายของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยดังที่
ได้กล่าวไปแล้วนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแนวทางในการพัฒนาที่ชัดเจน และครอบคลุมในการแก้ไขปัญหา
อุปสรรคและเงื่อนไขบางประการที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศ
ไทยให้หมดไป รวมไปถึงแนวทางการพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมให้มีความก้าวหน้า ทัดเทียมกับนานาชาติ และมี
ความยั่งยืนต่อไปในอนาคต โดยแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยนั้น ได้กำหนดไว้
ทั้งหมด 3 แนวทางหลักที่สำคัญ ได้แก่ (1) บริหารจัดการต้นทุนของวัตถุดิบเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของอุตสาหกรรม (2) สร้างมาตรการด้านการตลาดเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศและยกระดับช่องทางด้าน
การตลาด และ (3) ยกระดับโครงสร้างสนับสนุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยมี
รายละเอียดของการพัฒนาแต่ละแนวทาง ดังต่อไปนี้





(1) บริหารจัดการต้นทุนของวัตถุดิบเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
เพื่อเป็นการบริหารจัดการให้อุตสาหกรรมของประเทศไทยสามารถที่จะมีขีดความสามารถศักยภาพ
ทางการแข่งขันให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยเน้นทางด้านการพัฒนาและบริหารจัดการต้นทุนทางวัตถุดิบเป็น
สำคัญ โดยใช้มาตรการทางด้านภาษีเป็นเครื่องมือในการพัฒนา เน้นการพัฒนาและปรับปรุงมาตรการทางด้านภาษี
เพื่อสนับสนุนให้มูลค่าของต้นทุนวัตถุดิบถูกลง โดยเน้นการพัฒนาใน 2 มาตรการหลักที่สำคัญ ได้แก่

• สนับสนุนมาตรการทางภาษี โดยการปรับปรุงและสร้างมาตรการทางด้านภาษีเพื่อสนับสนุน
บรรยากาศของการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งรวมถึงการกำหนดมาตรการทางด้านภาษีใหม่
และการขยายระยะเวลาการดำเนินการใช้มาตรการภาษีที่ได้กำหนดขึ้นแล้ว
• บริหารจัดการวัตถุดิบ เพื่อสร้างระบบการหมุนเวียนวัตถุดิบภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการ
สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศพม่า กัมพูชา ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ
รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบุคลากรระหว่างกัน เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพ
ที่ดี และบรรยากาศของความเป็นมิตรที่ดีระหว่างกัน


(2) สร้างมาตรการด้านการตลาดเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศและยกระดับช่องทางด้านการตลาด
เพื่อเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในการเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติว่าเป็นศูนย์กลาง

ของแหล่งการค้าขายและแลกเปลี่ยนอัญมณีและเครื่องประดับ และเป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับที่มีคุณภาพ มีความประณีต และมีเอกลักษณ์ เพื่อให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ทัดเทียมนานาชาติ โดย
เน้นการพัฒนาใน 2 มาตรการหลักที่สำคัญ ได้แก่
• ยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศไทย โดยเน้นการสร้างภาพลักษณ์และยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่
การสร้างตราสินค้าของผู้ประกอบการไทยให้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ เพื่อเป็นการสนับสนุน
ให้ผู้ประกอบการสร้างตราสินค้าของตนเอง และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในฐานะที่เป็น
แหล่งของการออกแบบและการผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์
• ส่งเสริมการตลาดต่างประเทศ โดยเน้นการยกระดับงานแสดงสินค้า Bangkok Gems ให้มี
ศักยภาพทัดเทียมกับระดับนานาชาติ เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับช่องทางทางด้านการตลาด
ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการประชาสัมพันธ์สินค้าอัญมณีและ
เครื่องประดับของประเทศไทย โดยการสร้างตราสัญลักษณ์ให้แก่สินค้าที่ได้มาตรฐานที่เป็นที่
ยอมรับ เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภคอีกด้วย โดยเฉพาะเรื่องราวของตราสินค้า
“พลอยไทย (Ploi Thai)”

(3) ยกระดับโครงสร้างสนับสนุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
ผลักดันให้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการบริหารจัดการทางด้านนโยบายที่เกี่ยวข้อง
และแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน โดยเน้นการเชื่อมโยงและบูรณาการ
ระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีการรวมศูนย์การบริหารจัดการ และการดูแลอุตสาหกรรมให้เป็นหนึ่งเดียว รวมถึง
การรับรองมาตรฐานของอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
ของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ โดยเน้นการพัฒนาใน 2 มาตรการหลักที่สำคัญ ได้แก่

• พัฒนาระบบบริหารจัดการ โดยเน้นการพัฒนาแนวทางให้มีการบูรณาการทิศทางการพัฒนาให้
เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในภาพรวมของประเทศ และมี
แนวทางการพัฒนาที่ชัดเจนในช่วงระยะเวลา ได้แก่ การจัดตั้งหรือกำหนดหน่วยงานภาครัฐที่มี
หน้าที่หลักในการดูแลอุตสาหกรรมโดยตรง และมีงบประมาณในการพัฒนา การกำหนดนโยบาย
และแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ชัดเจนทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อ
สร้างความเชื่อมั่นและเป็นแนวทางให้แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงการกำหนดมาตรฐานและให้การ
รับรองมาตรฐานของคุณภาพโรงงานการผลิต เพื่อให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล และเพิ่ม
ประสิทธิภาพการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยอีกด้วย

• ส่งเสริมศักยภาพบุคลากร โดยเน้นการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และพัฒนาบุคลากรใน
ด้านต่างๆ โดยร่วมกับสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการอาชีวะศึกษา เช่น การ
พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้อง และหลักสูตรอบรมระยะสั้น การสร้างสถาบันการศึกษาที่ เน้นการพัฒนานักออกแบบ และการสนับสนุนให้มีการแข่งขันเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านการออกแบบและการผลิตเครื่องประดับที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก นอกจากนี้การให้การสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อเป็นการสร้างเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยดำเนินการภายใต้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกแล้วนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม

           การพัฒนาอุตสาหกรรมในแนวทางดังทีได้กล่าวมาเบื้องต้นนี้ จำเป็นที่จะต้องมีการวางกรอบระยะเวลาใน
การพัฒนาที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและต่อเนื่องของการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรมและมี
ทิศทาง และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ประเทศไทยยังคงมี
บทบาทในการเป็นผู้ผลิตหลักของโลก รวมถึงการจะพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ
ของโลกในอนาคตต่อไป



Combining a deep ancient tradition, excellent craftsmanship and sophisticated modern technology, Thailand’s gems and jewelry industry sparkles among the world’s finest. With natural resources and superior production capability, the country is a leader in cutting and polishing, innovative design and quality control. Thailand has a rich history in gems and jewelry. Hundreds of years ago, the Thai people drew from their natural artistic flair and started incorporating rubies, sapphires and other local gem resources into jewelry. Gold- and silversmiths also began honing their skills. Boomtowns sprouted up, such as Chantaburi, famous for its rubies and sapphires. The dazzling red “Siamese rubies” hail from there. Kanchanaburi Province is likewise known for extensive deposits of blue sapphires. As practitioners applied skills handed down through generations, a cottage industry formed in various provinces, with the business aspects gradually coalescing in Bangkok. Over time, modern advancements in manufacturing techniques helped the country gear up as a global production and trade center.

สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ยกระดับการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทย


สนับสนุนเนื้อหาโดย


(1) ยกระดับกระบวนการผลิตและเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบมาตรฐาน
การพัฒนาในด้านกระบวนการผลิตและการตรวจสอบมาตรฐานในการผลิตสินค้านั้น ประกอบไปด้วย
ประเด็นการพัฒนาทั้งในด้านการส่งเสริมการยกระดับวิธีการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น รวมทั้งการควบคุมมาตรฐานสินค้าทั้งในด้านคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค โดยแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อหลักดังนี้

การพัฒนากระบวนการผลิต : เป็นการเน้นการส่งเสริมการพัฒนาตามทิศทางของอุตสาหกรรม
อาหารในอนาคต โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการในห่วงโซ่
คุณค่า สำหรับการพัฒนาร่วมกัน และนำไปสู่การสร้างระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้ใน
ทุกกระบวนการ โดยมีแนวคิดหลัก คือ ส่งเสริมมาตรฐานการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมพร้อม
ยกระดับการบริหารจัดการกระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
ว่าจะได้รับสินค้าที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ การพัฒนาระบบตลาดสำหรับการส่งออก การวางการ
ตรวจสอบย้อนกลับไปถึงวัตถุดิบตลอดการผลิตของห่วงโซ่คุณค่า โดยเฉพาะต้นน้ำให้สามารถ
นำมาใช้ในการพัฒนามาตรฐาน และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคได้อีกด้วย และการพัฒนา
กลุ่มคลัสเตอร์อาหารให้มีกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในคลัสเตอร์ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง
กันอย่างครบวงจร

ตรวจสอบมาตรฐานการผลิต : เป็นการยกระดับการตรวจสอบมาตรฐานการผลิต โดยเฉพาะใน
กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้ผู้บริโภคภายในประเทศได้รับโอกาสในการบริโภคสินค้าอาหาร
ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ เทียบเท่ามาตรฐานสากล ซึ่งมีแนวคิดการพัฒนา คือ
ยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าอาหารของกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยให้ได้มาตรฐานด้านความ
ปลอดภัยเทียบเท่าสากล เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริโภคภายในประเทศให้ก้าวไปสู่มาตรฐาน
อาหารในระดับสากล การพัฒนาระบบตรวจสอบมาตรฐานสินค้าอาหารที่จำหน่ายในประเทศให้มี
ความคล่องตัวมากขึ้น โดยสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนในการกำกับดูแล ตรวจสอบ
และควบคุมสินค้าอาหารที่จำ หน่ายภายในประเทศ เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริโภค
ภายในประเทศให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น


(2) พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารให้เหมาะกับกลุ่มผู้บริโภค
การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมตามกลุ่มอายุและวัยของผู้บริโภค รวมไปถึง
พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปนั้น เป็นประเด็นหลักสำคัญส่วนหนึ่งที่จะผลักดันให้การพัฒนา
อุตสาหกรรมอาหารประสบความสำเร็จในอนาคตได้ โดยมีแนวคิดการพัฒนาใน 2 ส่วนคือ
1) การสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ แล
2) พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับรายย่อย ดังนี้

• สร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ : เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆที่มีแนวโน้มความต้องการ
ของผู้บริโภคเป็นจำนวนมากขึ้นในอนาคต ซึ่งมีรายละเอียด คือ สร้างศูนย์รวมการบูรณาการวิจัย
และพัฒนาอาหารอย่างมีระบบและสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาที่ชัดเจน และเน้นการวิจัยที่
สามารถประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงมีตลาดที่แน่นอนรองรับอีกด้วย และการสนับสนุนการ
ลงทุนอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปทุกประเภท โดยเน้นการใช้วัตถุดิบในกลุ่มประเทศไทยและ
ประเทศใกล้เคียงเป็นหลัก และเน้นการผลิตแปรรูปทั้งสินค้าอาหารไทย และอาหารของประเทศ
ต่างๆ เพื่อการส่งออก ภายใต้กระบวนการผลิตที่มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์
การเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลกให้กับประเทศไทยได้

• พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับรายย่อย : เน้นการพัฒนาให้สามารถรักษาคุณภาพสินค้าก่อนนำไปสู่
ผู้บริโภค รวมถึงสร้างความสะดวกรวดเร็วในการบริโภคให้กับผู้บริโภคได้ตามลักษณะพฤติกรรม
ของผู้บริโภคในรูปแบบต่างๆด้วยเช่นกัน โดยมีแนวคิดในการพัฒนาในรูปแบบหลัก คือ เร่งพัฒนา
บรรจุภัณฑ์โดยฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาอย่อม (SME) และ OTOP โดยให้
การสนับสนุน เผยแพร่องค์ความรู้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหาร สำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มนี้
ในช่วงระยะเวลาภายใน 5 ปีนี้ และ การพัฒนาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ที่รักษาคุณภาพอาหารและ
สะดวกในการบริโภค โดยมีความเหมาะสมกับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป

(3) ขยายช่องทางการตลาดและสร้างความเชื่อมั่นของอาหารไทย
เป็นการพัฒนาและสร้างภาพลักษณ์การผลิตสินค้าอาหารของประเทศไทย รวมไปถึงการขยายโอกาสใน
การพัฒนาช่องทางการตลาดสำหรับสินค้าอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยมีแนวคิดในการพัฒนา ดังนี้

• สร้างความตระหนักด้านอาหาร : โดยการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค รวมทั้งส่งเสริมการสื่อสาร
ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลในการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยแก่ผู้บริโภคอย่างทั่วถึง โดยมีรายละเอียด
คือ สร้างความตระหนักให้ผู้บริโภคเลือกบริโภคอาหารที่ได้การรับรองมาตรฐานปลอดภัยและ
อินทรีย์เพิ่มขึ้น และส่งเสริมการระบุเครื่องหมายสินค้าที่ได้รับรองอาหารมาตรฐานปลอดภัยบน
สินค้า อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ผลิตมีความตระหนักในการผลิตสินค้าที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
มากขึ้น

• พัฒนาช่องทางการตลาด : โดยเน้นการสื่อสารประชาสัมพันธ์การเป็นแหล่งผลิตสินค้ามาตรฐาน
สำหรับประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารของประเทศไทย โดยมี
รายละเอียดแนวทาง คือ พัฒนาช่องทางการตลาดและจัดแบ่งประเภทสินค้าให้ผู้บริโภคสามารถ
เข้าถึงและเลือกซื้อสินค้าได้อย่างสะดวกขึ้น โดยศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของตลาดทั้งใน
ภาพรวมและตลาดเฉพาะกลุ่มผู้บริโภค แล้วจึงเน้นการทำตลาดเชิงรุก และแนวทางในการ
สนับสนุนการประชาสัมพันธ์การเป็นแหล่งผลิตสินค้าอาหารที่มีคุณภาพมาตรฐาน โดยส่งเสริมให้
ผู้ประกอบการของประเทศไทยมีการรับรอง Country of Origin, Product of Thailand บนตัว
สินค้าที่จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ในการเลือกซื้อ เลือก
บริโภคสินค้าที่ใช้วัตถุดิบและผลิตในประเทศไทย และเป็นที่ยอมรับของประเทศต่างๆได้

สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อุตสาหกรรมแม่พ่พิมพ์โลก VS แม่พิมพ์ไทย




สนับสนุนเนื้อหาโดย


     อุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นที่รองรับอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญเกือบทุกประเภท เนื่องจากการผลิตสินค้าหลายสาขาจำเป็นต้องอาศัยแม่พิมพ์ (Mould) ในการขึ้นรูปและกำหนดรูปร่างผลิตภัณฑ์ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและขนาดตามความต้องการทั้งสิ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงอุตสาหกรรมอื่นๆทั้งหมด





ทิศทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมแม่พ่พิมพ์โลก

1. บริษัทผู้ผลิตแม่พิมพ์จะเน้นการรปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดระยะเวลาในการผลิต
แม่พิมพ์ให้สั้นลง (Rapid production development cycle) เพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์
และสินค้าใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

2. ผู้ผลิตแม่พิมพ์จะลงทุนในเครื่องจักร อุปกรณ์ ที่มีระบบโปรแกรม CAD CAM รองรับในการ
การออกแบบ และเชื่อมโยงการเครื่องจักรในการผลิตแม่พิมพ์เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการ
ผลิต

3. การผลิตแม่พิมพ์ทจะมีความแม่นยำและเที่ยงตรงมากขึ้น โดยขนาดแม่พิมพ์จะมีขนาด เล็ก
ลงในระดับขนาดไมโครเมตรหรือขนาดเล็กกว่า (Micro Mould Micro die) เพื่อรองรับความ
ต้องการสินค้าที่มีขนาดเล็กลงเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องมือทางการแพทย์ และอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์

4. ทิศทางเครื่องจักรที่ใช้ในแม่พิมพ์จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพื่อจะรองรับ Multi-cavity mold

5. แม่พิมพ์จะมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น

6. เครื่องจักรจะมีการพัฒนาในการรองรับการใช้วัตถุดิบต่างๆ เช่น carbide, เซรามิก, คอมโพ
สิต

7. การพัฒนาผิวแม่พิมพ์ จะมีความสำคัญมากขึ้น (surface treatment technology) ในการยืด
อายุการใช้งานของแม่พิมพ์ เช่น การใช้วัสดุจาก aluminum alloy เพื่อช่วยในการลด
ระยะเวลาในการผลิตและลดต้นทุน

8. เครื่องจักรในการการหล่อขึ้นรูป (Mould) จะมีทิศทางการใช้ระบบเครื่องจักรที่ใช้แรงดันสูง

9. ปัจจัยหลักในการขยายตัวของอุตสาหกรรมจะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยาน
ยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์,อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหลัก






ทิศทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมแม่พ่พิมพ์ไทย


1.อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยจะก้าวไปสู่การผลิตที่เน้นความแม่นยำ ความ
เที่ยงตรงและซับซ้อนสูง (Medium-High precision) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยาน
ยนต์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

2. ภาคอุตสาหกรรมจะมีการนำเทคโนโลยีเชื่อมโยงกระบวนการผลิต เพื่อทำให้
ระยะเวลาผลิตรวดเร็ว และมีความเที่ยงตรง แม่นยำมากขึ้น

3. ตลาดแม่พิมพ์ที่มีความละเอียดปานกลางจะขยายาไปสู่ความละเอียดสูงเพิ่มมาก
ขึ้น

4. อุตสาหกรรมจะมีหน่วยงานกลางหลักในการบริหารจัดการ และรับรองคุณภาพและ
มาตรฐานการผลิตแม่พิมพ์ที่เทียบเท่ากับระดับสากล

5. มีการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ ทำให้เกิดการพัฒนาสู่แม่พิมพ์ทุกระดับ

6. อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์การพัฒนาผิว
แม่พิมพ์ (surface finishing polishing) และเป็นที่รู้จักของผู้ผลิตในต่างประเทศ

7. ผู้ประกอบการแม่พิมพ์ไทยจะสามารถรองรับการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ของ
บริษัทต่างชาติได้อย่างมีมาตรฐานและจะขยายตลาดภายในประเทศ และขยาย
ตลาดต่อเนื่องสู่ตลาดต่างประเทศในอนาคต เป็นผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มมาก
ขึ้นและมูลค่าการนำเข้าแม่พิมพ์จากต่างประเทศลดลง

8. อุตสาหกรรมแม่พิมพ์จะมีระบบการพัฒนาบุคลากทั้งในและนอกระบบการศึกษา
เพื่อรองรับความต้องการของตลาด โดยมีมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพรองรับกับ
ค่าตอบแทน


ปัญหาและอุปสรรค

1. ขาดแคลนแรงงานพื้นฐาน โดยเฉพาะในระดับอาชีวศึกษาที่มีความรู้พื้นฐานสำหรับการผลิตแม่พิมพ์
2. ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทางของแม่พิมพ ์โดยเฉพาะวิศวกรออกแบบแม่พิมพ์และแรงงานในการขัดผิวแม่พิมพ์
3. สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิชาแม่พิมพ์มีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรม
4. ครุภัณฑ์(เครื่องจักร,ซอท์ฟแวร์)ที่ใช้ในการสอนไม่ทันสมัยและไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้
5. ขาดเครื่องวัดที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์ รวมทั้งไม่มีสถาบันที่รับรองมาตรฐานและคุณภาพของแม่พิมพ์
6. ช่องทางการปล่อยสินเชื่อถูกจำกัด เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
7. อัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรสูง และผู้ประกอบการขาดการสนับสนุนด้านการลงทุน ทำให้ไม่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ได้อย่างเต็มที่และทัดเทียมกับประเทศคู่แข่ง
8. ขาดการวางแผนกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ระยะการผลิตใช้เวลานานเกินสมควร
9. วัตถุดิบในการผลิตแม่พิมพ์มีไม่เพียงพอ มีต้นทุนค่อนข้างสูง และไม่สามารถจัดหาได้ภายในประเทศ
10.ขาดการสนับสนุนด้านเงินลงทุน สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีและรูปแบบการผลิตแม่พิมพ์
11.ผู้ประกอบการขาดความเข้มแข็ง อีกทั้งผู้ประกอบการส่วนมากจะเน้นการทำงานอย่างเบ็ดเสร็จภายในที่เดียว ขาดการรวมกลุ่มเพื่อแบ่งงานและพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกัน
12.ไม่มีการจัดการองค์ความรู้ เทคนิควิธีการและการแก้ไขปัญหาในการผลิตแม่พิมพ์ รวมถึงขาดคู่มือและการถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคลากรภายในอุตสาหกรรม
13. ขาดการทำตลาดเชิงรุก ทำให้ไม่สามารถสร้างและขยายตลาดในต่างประเทศได้
14.ต่างชาติไม่เชื่อมั่นในคุณภาพของการผลิตแม่พิมพ์หรือการขัดผิวแม่พิมพ์ไทย เนื่องจากขาดการรับรองมาตรฐานและคุณภาพการผลิตแม่พิมพ์ของไทย


ปัจจุบันไทยมีโรงงานแม่พิมพ์ราว 1,061 โรงงาน ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อแม่พิมพ์โลหะ และแม่พิมพ์พลาสติก
“จุดเริ่มต้นในการสนับสนุนอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม เกิดจากภาครัฐเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนในประเทศให้มีศักยภาพทัดเทียมต่างชาติ สามารถผลิตแม่พิมพ์ชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ เชื่อมโยงการผลิตครบทั้งซัพพลายเชนภายในประเทศ และป้อนอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์เป้าหมายที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากต่างชาติเข้ามาลงทุน” จิรศักดิ์ เยาว์วัชสกุล ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมันกล่าว 


สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อุตสาหกรรมสิ่งทอของโลก และโอกาสของไทย


สนับสนุนเนื้อหาโดย


         


       อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมที่มีจุดเริ่มต้นและวิวัฒนาการมาค่อนข้างยาวนานโดยเริ่มต้นนั้นจะอยู่ในแถบยุโรปและในปัจจุบันได้มีการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตมาในเอเชียเป็นหลัก เพราะมีความพร้อมในปัจจัยการผลิต กล่าวคือมีแรงงานจำนวนมากและราคาถูก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของอุตสากรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และมีแนวโน้มว่าเอเชียจะยังกลายเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมนี้ต่อไปในช่วง 5-10 ปีข้างหน้าโดยเฉพาะประเทศจีน อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถานและประเทศกลุ่มอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้น แต่จะมีการยกระดับความสำคัญในอุตสาหกรรมมากขึ้นจากการเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตสู่การออกแบบและการสร้างตราสินค้า ส่วนยุโรปจะยังคงความเป็นผู้นำในด้านของแฟชั่นและเจ้าของตราสินค้าชื่อดังระดับโลกต่อไป สำหรับในระยะยาวที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรโลกในอนาคตจะทำให้อินเดีย ลาตินอเมริกา และประเทศในกลุ่มแอฟริกาก้าวเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอุตสาหกรรม โดยอยู่ในฐานะของการเป็นผู้รับจ้างผลิต เพราะจะกลายเป็นแหล่งแรงงานจำนวนมาก แต่จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนาโครงสร้างสนับสนุนอื่นๆเพื่อให้เหมาะสมกับภาคการผลิต

และเนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของแฟชั่นในอนาคตจะมีระยะเวลาสั้น ทำให้ผู้ผลิตต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการสินค้าได้ในระยะเวลาอันสั้นขึ้น รวมทั้งบทบาทของผู้รับจ้างผลิต
ในอนาคตจะมีการขยายตัวมากขึ้น ไม่เพียงแต่ความสามารถในการผลิตเท่านั้นแต่ยังจำเป็นต้องมีความสามารถในการบริการครบวงจรตั้งแต่การออกแบบ การผลิต จนถึงการบริหารจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้ ทำให้ผู้รับจ้างการผลิตต้องมีระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการรับส่งข้อมูลข่าวสารตลอดจนการสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการรายอื่นทั้งห่วงโซ่คุณค่า
ส่วนสินค้านั้นจะมีการพัฒนาไปสู่สินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ต้องผสานทั้งรูปแบบความสวยงามเข้ากับประโยชน์การใช้งานที่ต้องหลากหลายขึ้น และมีความจำเพาะกับชีวิตประจำวันของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มมากขึ้นด้วย

การออกแบบที่ทันสมัยและเทคโนโลยีการผลิตเข้ามามีบทบาทสำคัญในการที่จะประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมได้ และด้วยความก้าวหน้าของงานวิจัยและเทคโนโลยีจึงทำให้สิ่งทอสามารถขยายประโยชน์การใช้สอยไปยังอุตสาหกรรมที่หลากหลายได้ ซึ่งเรียกว่าเป็นสิ่งทอเทคนิคและจะเป็นสินค้าที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ทั้งหมดนี้ยังต้องผลิตภายใต้มาตรฐานและการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย ทั้งในด้านของวัตถุดิบที่ใช้ กระบวนการผลิต ปริมาณการใช้ทรัพยากรในการผลิต (เช่น ปริมาณการใช้น้ำ ปริมาณการใช้พลังงาน เป็นต้น) ตลอดจนวิธีการทำลายสินค้า ส่วนวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มนั้นมีการคาดการณ์ว่าทั้งเส้นใยฝ้ายและเส้นใยสังเคราะห์จะยังคงมีบทบาทที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากมีคุณสมบัติและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน โดยฝ้ายนั้นมีศักยภาพใน เรื่องของต้นทุนการผลิต เพราะเป็นพืชที่สามารถปลูกใหม่ขึ้นมาทดแทนได้ แต่ถ้าเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเส้นใย
สังเคราะห์นั้นจะต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในการผลิต ทำให้ราคานั้นจะแปรตามราคาของน้ำมันที่มีแนวโน้ม

เพิ่มมากขึ้นทุกวันและเป็นพลังงานที่หมดไป แต่เนื่องจากเส้นใยสังเคราะห์จะมีข้อได้เปรียบกว่าเส้นใยธรรมชาติในด้านของคุณสมบัติเส้นใยที่สามารถปรับและพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการได้ ทั้งสองประเด็นจึงทำให้มีการคาดการณ์ว่าจะมีบทบาทสำคัญต่อไปในอนาคต ดังที่กล่าวข้างต้นนั้นจะเป็นทิศทางของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของโลกต่อไปในอนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการกำหนดตำแหน่งของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยให้เหมาะสม โดยอาศัย


ศักยภาพของผู้ประกอบการไทยและโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ทำให้ไทยควรมุ่งหน้าการพัฒนาสู่การเป็น “ศูนย์กลางของสิ่งทอและแฟชั่นของภูมิภาคอาเซียน” เพราะเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนแล้วจะพบว่าไทยนั้นมีศักยภาพในด้านของอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ค่อนข้างโดดเด่น และอาศัยการรวมกลุ่มเศรษฐกิจประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นประตูสู่การเป็นผู้นำสิ่งทอในอาเซียน โดยเป็นแหล่งวัตถุดิบสิ่งทอของภูมิภาค (Sourcing Center) นอกจากนี้ไทยยังมีศักยภาพในด้านของการออกแบบสินค้าที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ กอปรกับการเป็นผู้ผลิตสิ่งทอจะทำให้ไทยสามารถเป็นผู้นำในด้านของแฟชั่นและกำหนดรูปแบบแฟชั่นในภูมิภาคได้อีกด้วย และยังสามารถวางตัวเป็นตลาดกลางในการซื้อ ขาย และผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม(Fashion Trading Hub) สำหรับผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศในการซื้อขายสินค้าเพื่อนำไปบริโภคและนำไปค้าปลีกในประเทศของตนต่อไป ซึ่งแนวทางในการพัฒนาให้ไทยสามารถก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางของสิ่งทอและแฟชั่นของภูมิภาคอาเซียนได้นั้นจะประกอบด้วย 4 แนวทางหลัก ดังรูปด้านล่าง โดยจะมีการวางแนวทางการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้งกับผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย และมีรายละเอียดดังนี้





(1) การสร้างและขยายความเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตของผู้ประกอบการในภูมิภาคอาเซียน
เป็นการร่วมสร้างและขยายเครือข่ายการผลิตกับผู้ประกอบการอื่นในภูมิภาค โดยดึงเอาศักยภาพที่โดดเด่นของแต่ละประเทศ โดยไทยมีศักยภาพในด้านของสิ่งทอและจับคู่กับประเทศอื่นที่มีศักยภาพในด้านของเครื่องนุ่งห่ม

ในการสร้างความได้เปรียบสำหรับการบุกตลาดระดับโลก โดยเฉพาะเจ้าของตราสินค้าชื่อดังต่างๆ เพื่อแข่งขันกับ
ประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำต่อไปในอนาคต โดยแนวทางการสร้างเครือข่ายจะประกอบด้วย
• การสร้างและขยายเครือข่ายการผลิต : ในช่วงเริ่มต้นนั้นจะเป็นเพียงการสร้างเครือข่ายการผลิต
แต่ในขั้นตอนถัดไปนั้นจำเป็นต้องขยายการสร้างเครือข่ายการผลิตนี้ให้กับผู้ประกอบการที่มี
ศักยภาพในวงกว้างต่อไป
• การพัฒนาระบบการผลิตในเครือข่ายอาเซียน : เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการผลิตสินค้าให้กับประเทศ
ทั่วโลก ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องมีการพัฒนากระบวนการผลิตทั้งในด้านของการยกระดับ
มาตรฐานการผลิตให้อยู่ในระดับสากล การปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพอย่าง
สม่ำเสมอ รวมทั้งการให้ความสำคัญสำหรับการพัฒนาในส่วนของวัตถุดิบต้นน้ำ


(2) การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการรายย่อยในการขยายตลาดไปสู่ระดับภูมิภาคอาเซียน
แนวทางนี้จะมุ่งเน้นการออกแบบและการสร้างตราสินค้าของผู้ประกอบการไทยให้ได้รับความนิยม โดย
เริ่มต้นจากในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งจะเหมาะกับผู้ประกอบการไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์และความสามารถใน
การออกแบบสินค้า โดยแนวทางการพัฒนานี้จะทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้
ค่อนข้างมาก โดยแนวทางการพัฒนามีดังนี้
• การพัฒนาช่องทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย : การดำเนินการตลาดในปัจจุบันต้อง
นำไปสู่การตลาดเชิงรุกมากขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ ดังนั้นแนวทางการพัฒนา
ช่องทางตลาดจึงควรเริ่มต้นจากการสร้างภาพลักษณ์ให้กับประเทศถึงความทันสมัยและการเป็น
ผู้นำแฟชั่น รวมทั้งการสร้างโอกาสทางการตลาดสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย เช่น การ
สร้างความหลากหลายของสินค้า และการตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าในกลุ่มประเทศเป้าหมาย
• การส่งเสริมศักยภาพของนักออกแบบไทย : การส่งเสริมศักยภาพของนักออกแบบนั้นสามารถ
ดำเนินการได้ในหลายมิติ ทั้งในด้านของการสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ การส่งเสริมการพัฒนา
ศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการสร้างความเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อให้สามารถผลิต
สินค้าที่มีความทันสมัยได้

(3) การสนับสนุนและพัฒนาการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าสิ่งทอเทคนิค
สิ่งทอเทคนิคเป็นสินค้าที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ค่อนข้างสูง แต่จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อม
สำหรับการพัฒนาสินค้าชนิดนี้ ดังนั้นแนวทางในการสนับสนุนการพัฒนาสิ่งทอเทคนิค จึงมุ่งสู่การพัฒนาในด้านของ
บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของ
ตลาด

(4) การยกระดับโครงสร้างสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม
การยกระดับโครงสร้างสนับสนุนนั้นเป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทั้งอุตสาหกรรมสิ่งทอและ
เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งจะประกอบด้วยการพัฒนาบุคลากรและมาตรการสนับสนุนต่าง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
• การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรม: การพัฒนานี้จะครอบคลุมทั้งแรงงานและผู้ประกอบการ
โดยแนวโน้มของการขาดแคลนแรงงานที่จะเกิดขึ้น ทำให้ต้องเร่งพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน
ของแรงงานให้สูงขึ้น ส่วนผู้ประกอบการนั้นจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือกันมากขึ้นระหว่าง
ผู้ประกอบการในการผลิตสินค้าแต่ละขั้นตอน
• การพัฒนามาตรการสนับสนุน : มาตรการสนับสนุนจะเป็นสิ่งที่สามารถช่วยผู้ประกอบการในการ
ดำเนินการมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการสนับสนุนการขยายการลงทุนในต่างประเทศที่มีความ
พร้อมในด้านของปัจจัยการผลิต รวมทั้งการจัดการกับระบบมาตรฐานการผลิตต่างๆของ
ผู้ประกอบการในประเทศ เพื่อยกระดับการผลิตให้ได้ตามมาตรฐานสากล รวมทั้งส่งเสริมการผลิต
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com