วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมนำร่อง

สนับสนุนเนื้อหาโดย


        แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยในภาพรวมนั้นจะส่งเสริมให้เกิดการยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการไทยสู่สากล ภายใต้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคม และมุ่งเน้นการใช้กลยุทธ์ในการแข่งขันด้านมูลค่าเพิ่มและนวัตกรรมให้กับสินค้าควบคู่กับการบริการเพิ่มมากขึ้น เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน ทำให้กรอบแนวทางการพัฒนาในรายอุตสาหกรรมนั้นจะต้องบูรณาทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาพรวมร่วมกับบริบทของแต่ละอุตสาหกรรมให้เกิดแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนและเหมาะสมสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมต่อไป


         การที่จะกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาได้นั้นจำเป็นต้องวิเคราะห์ถึงศักยภาพและบทบาทของอุตสาหกรรมไทยเทียบกับสากล โดยในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีบทบาทความสำคัญในรายอุตสาหกรรมของโลกที่แตกต่างกันไป จากการวิเคราะห์ศักยภาพของอุตสาหกรรมนำร่องทั้ง 8 อุตสาหกรรมจะพบว่า ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้รับจ้างการผลิตให้กับเจ้าของตราสินค้าจากต่างประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการไทยยังขาดการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในระดับสากล แต่มีศักยภาพในการเป็นผู้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี การกำหนดบทบาทของผู้ประกอบการในอนาคตนั้นจึงมุ่งเน้นสู่การสร้างตราสินค้าไทยให้เป็นที่ประจักษ์ในเวทีโลกต่อไปสำหรับอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพสูงและมีช่องทางการยกระดับไปสู่เจ้าของตราสินค้า เช่น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง อย่างไรก็ดี ในบางอุตสาหกรรมจะมีการกำหนดบทบาทสู่การเป็นฐานการผลิตระดับโลก ซึ่งครอบคลุมถึงการผลิตและการออกแบบสินค้าร่วมกับ ผู้สั่งผลิต เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ที่มีการผลิตและกลายเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านยานยนต์ในภูมิภาค

         อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ก็เช่นเดียวกันมีการกำหนดบทบาทสู่การเป็นผู้ผลิตระดับโลกและเป็นแหล่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีการวางบทบาทเป็นผู้ผลิตและตลาดการซื้อขายอัญมณีและเครื่องประดับสำหรับผู้บริโภคจนถึงระดับอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยเฉพาะแม่พิมพ์ที่ถือเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนที่มีความเชื่อมโยงในอุตสาหกรรมหลักหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ จึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่นๆในอนาคต และสุดท้ายคืออุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทน ที่นับวันจะทวีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในปัจจุบันศักยภาพของผู้ประกอบการไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ แต่ในอนาคตจึงเป็นต้องพัฒนาสู่การเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทนที่มีศักยภาพ และเชื่อมโยงกับแต่ละสาขาอุตสาหกรรมของประเทศ

สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

อุตสาหกรรมนำร่องของไทย


สนับสนุนเนื้อหาโดย
สรุปประเด็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมนำร่อง



H = มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมมาก
M = มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมปานกลาง
L = มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมน้อย

การวิเคราะห์ภาพรวมของอุตสาหกรรมนำร่องข้างต้นจะนำไปสู่การวางแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรม
ภายใต้ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาพรวมของทั้งประเทศตามช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาจะต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ศักยภาพของผู้ประกอบการไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้น และครอบคลุมถึงการแก้ไขอุปสรรคและปัญหาที่พบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดบทบาทไว้ในอนาคต โดยแนวทางการพัฒนาในแต่ละช่วงเวลาของอุตสาหกรรมนำร่องจะแตกต่างกันไป เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรม
รายละเอียดของแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมนำร่องในแต่ละช่วงเวลาคือ
ระยะสั้น (5 ปี)
ระยะกลาง(10 ปี)
และระยะยาว (20 ปี) มีรายละเอียดดังนี้

• อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพและความพร้อมทั้งใน
ด้านของวัตถุดิบและบุคลากรค่อนข้างมาก แนวทางการพัฒนาจึงจำเป็นต้องมุ่งสู่การเป็นฐานการผลิตใน
อาเซียนและขยายช่องทางการตลาดให้เข้าถึงประเทศต่างๆเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการสร้างและประชาสัมพันธ์ตราสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ควบคู่กับการสร้างมาตรฐานการผลิตและเน้น
การสร้างฐานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารต่อไปในอนาคต เพื่อให้เกิดการยกระดับของอุตสาหกรรมอาหารไทยอย่างต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีบทบาทในการเป็นผู้ผลิตตามเจ้าของตราสินค้าที่เป็นบริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุน จึงจำเป็นต้องสร้างแรงงานและโครงสร้างสนับสนุนให้มีความพร้อม เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและขยายไปสู่การส่งเสริมการพัฒนา
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และผลักดันให้เกิดการใช้วัตถุดิบจากภายในประเทศมากกว่าการนำเข้าจาก
ต่างประเทศ

• อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 
บทบาทของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยในปัจจุบันนั้นคือ
การเป็นผู้รับจ้างผลิตจากคำสั่งผลิต แนวทางการพัฒนาจึงจำเป็นต้องยกระดับขีดความสามารถในการ
แข่งขันของผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้นและสร้างความร่วมมือในการขยายเครือข่ายการผลิตไปยัง
ผู้ประกอบการในภูมิภาค เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต จากนั้นต้องส่งเสริมการยกระดับ
ศักยภาพของผู้ประกอบการไทยสู่การออกแบบและการดำเนินการทางตลาดเพื่อสร้างตราสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติต่อไป

• อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง 
ในช่วงแรกนั้นต้องชักชวนผู้ประกอบการให้เข้าสู่อุตสาหกรรมนี้เพิ่ม
มากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ยาง เพราะในปัจจุบันประเทศไทยจะมีการ
ส่งออกยางค่อนข้างมาก แต่เป็นการส่งออกในรูปของน้ำยางซึ่งมีมูลค่าเพิ่มในตัวสินค้าค่อนข้างน้อย ซึ่ง
จำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยางแปรรูป และนำไปสู่การสร้างตราสินค้า
ของไทย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มบทบาทและความสำคัญในอุตสาหกรรมยางในระดับโลกมากขึ้น ทำให้มี
อำนาจในการต่อรองและกำหนดทิศทางราคายาง ตลอดจนการควบคุมกลไกการผลิตยางในอนาคตได้

• อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 
เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเป็นผู้ผลิตและส่งออกในปัจจุบัน การกำหนดแนวทางการพัฒนานั้นจึงมุ่งหน้าสู่การสร้างภาพลักษณ์และการปรับโครงสร้างสนับสนุนต่างๆเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การเป็นผู้นำในการผลิต แปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มที่สำคัญในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไปในอนาคต

• อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 
แนวทางการพัฒนาในระยะสั้นนั้นต้องเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยน
โครงสร้างสนับสนุนให้มีความเหมาะสมต่อการประกอบการธุรกิจ โดยเฉพาะด้านแรงงานและกฎระเบียบ
และก้าวถัดมานั้นต้องมุ่งเน้นสู่การพัฒนาแหล่งวิจัยเทคโนโลยีการออกแบบสินค้าเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง
ขยายการตลาดไปในภูมิภาค และมุ่งสู่การสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าไทยให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ

ในระดับสากล
• อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ 
การพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์นั้นจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างแรงงานฝีมือ
เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทาง ดังนั้นการสร้างแรงงานที่มีทักษะความ
เชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะ จึงเป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่ต้องดำเนินการ ตลอดจนการสร้างตลาด
แม่พิมพ์ในประเทศให้มีการเติบโตขึ้น แล้วขยายไปสู่การเป็นผู้รับจ้างผลิตแม่พิมพ์สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆทั้งจากในและนอกประเทศ ส่วนแนวทางการพัฒนาในระยะยาวนั้นจะสามารถเชื่อมโยงสู่การพัฒนา
ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเครื่อจักรกลได้ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกัน

• อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทน 
เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมใหม่จึงต้องเร่งสร้างนโยบายและมาตรการจูงใจผู้ประกอบการ ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยงานกลางที่ดูแลรับผิดชอบการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทนอย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทนอย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ซื้อเทคโนโลยีสู่การเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรและเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทนต่อไปในอนาคต


สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

บริการให้เช่าเครื่องอัดลม ปั๊มลม ( Second-Hand Screw Compressor )


ทางบริษัทมีเครื่องอัดลมมือสอง ปั๊มลมมือสอง พร้อมอุปกรณ์ประกอบทั้งระบบไว้สำหรับขาย, ให้เช่า และไว้สำหรับบริการเป็นเครื่องสำรองขณะซ่อมหรือ โอเวอร์ฮอร์น ( Atlas Copco, Kaeser มีทั้งแบบ Oil Lubricant & Oil Free ) มีขนาดตั้งแต่ 15-200 แรงม้า สำหรับโรงงานที่ต้องการเช่าเครื่องอัดลมในระยะเวลานาน 3-5 ปี บริษัทฯ สามารถจัดเครื่องใหม่ให้ท่านเช่าพร้อมเครื่องใหม่สำรองในกรณีที่เช่าตั้งแต่ 5 เครื่องขึ้นไป  Ingersoll Rand

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

อุตสาหกรรมที่มีผลประโยชน์ต่อประเทศสูงสุด

สนับสนุนเนื้อหาโดย

กลุ่มอุตสาหกรรมผลประโยชน์เกิดกับประเทศสูงสุด

กลุ่มอุตสาหกรรมตามโครงสร้างคุณลักษณะนั้น จะพบว่ากลุ่ม
อุตสาหกรรมนี้ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยสูงที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สร้างผลประโยชน์แก่ประเทศสูงที่สุดทั้งในด้านมูลค่าส่งออก การสร้างผู้ประกอบการ การสร้างงาน และการใช้วัตถุดิบภายในประเทศอีกทั้งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเป็นผู้ประกอบการไทย ดังนั้นทุกอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มนี้จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการคัดเลือกเป็นอุตสาหกรรมนำร่องที่ต้องได้รับการพัฒนาเป็นลำดับแรก โดยมีรายละเอียดของแต่ละอุตสาหกรรม
นำร่องภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมผลประโยชน์เกิดกับประเทศสูงสุด ดังนี้

ตารางอุตสาหกรรมภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกิดผลประโยชน์กับประเทศสูงสุด
(ที่มา: สำมะโนอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2550 และการวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)




• อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม นับเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าผลผลิต จำนวนสถาน
ประกอบการ และจำนวนแรงงานสูงที่สุดในอุตสาหกรรมทั้งหมดนี้ นับเป็นอุตสาหกรรมที่สร้าง
ผลประโยชน์แก่ประเทศไทยสูงมาก แต่มูลค่าการส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ซึ่งอาจเกี่ยวข้อง
กับสัดส่วนมูลค่าเพิ่มที่อยู่ในเกณฑ์ปานกลางเช่นกัน และระดับความน่าสนใจของอุตสาหกรรม
อาหารและเครื่องดื่มในระดับโลกอยู่ในระดับสูงเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก อันจะ
นำมาซึ่งแนวโน้มการขาดแคลนอาหารในอนาคต ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง
ไป โดยให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

• อุตสาหกรรมยาง เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูง และเป็นอุตสาหกรรมที่มีวัตถุดิบใน
ประเทศเป็นจำนวนมาก แต่มีจำนวนสถานประกอบการและการจ้างงานต่ำ อย่างไรก็ตาม พื้นที่
เพาะปลูกยางพาราในประเทศไทยมีพื้นที่มากขึ้นเรื่อย ๆ และการส่งออกของไทยมักเป็นการ
ส่งออกน้ำยางดิบหรือยางแผ่น หากสามารถเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่าง ๆ ได้จะสร้าง
มูลค่าให้ประเทศไทยได้เป็นจำนวนมาก และระดับความน่าสนใจของอุตสาหกรรมยางในระดับ
โลกอยู่ในระดับสูง ถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่โอกาสในอนาคต
• อุตสาหกรรมสิ่งทอ แม้ว่าจะมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่าอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ และในระดับ
โลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสิ่งทอถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพ อีกทั้งยัง
มีการใช้เงินลงทุนและวัตถุดิบในประเทศเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนสถานประกอบการและ


จำนวนแรงงานค่อนข้างสูง ดังนั้น แม้มูลค่าโดยรวมของอุตสาหกรรมนี้อาจไม่มากนัก แต่ถือได้ว่า
เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างผลประโยชน์แก่ประเทศไทยโดยตรง

(1.2) กลุ่มอุตสาหกรรมฝีมือแรงงาน
อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อประเทศค่อนข้างมากเช่นกัน เนื่องจาก
สอดคล้องกับศักยภาพหลักของอุตสาหกรรมไทย ที่มีจุดเด่นในเรื่องแรงงานฝีมือซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เมื่อพิจารณาในภาพรวมจะพบว่าส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ถือได้ว่าประเทศไทยมีศักยภาพ โดยอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นในกลุ่มนี้มีอยู่ 2 อุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูง และตอบสนองต่อนโยบายที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีศักยภาพในการยกระดับอุตสาหกรรมด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม และอุตสาหกรรมอัญมณี ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพ และเป็นที่รู้จักในระดับโลกถึงคุณภาพของฝีมือแรงงานในอุตสาหกรรมดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่มีโอกาสในอนาคต ดังจะเห็นได้จากอัตราการเติบโตของมูลค่าการส่งออกของโลกในอุตสาหกรรมดังกล่าวในช่วง พ.ศ. 2548 –2551 อยู่ในระดับที่สูง จึงเห็นสมควรคัดเลือกอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมอัญมณีเป็นอุตสาหกรรมนำร่อง โดยมีรายละเอียดของแต่ละอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ยนำร่องภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมฝีมือแรงงาน ดังนี้

ตารางอุตสาหกรรมภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมฝีมือแรงงาน
(ที่มา: สำมะโนอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2550 และการวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)



• อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย
ค่อนข้างสูง มีการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนยานยนต์ภายในประเทศและใช้ฝีมือแรงงานใน
อุตสาหกรรมในสัดส่วนที่สูง และประเทศไทยมีชื่อเสียงในฐานะฐานการผลิตรถยนต์ฝีมือดี ถือได้
ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สัดส่วนเงินลงทุน
และผู้ถือหุ้นในอุตสาหกรรมนี้ส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนจากต่างประเทศ


อุตสาหกรรมอัญมณี เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกและมูลค่าเพิ่มสูงมาก มีการใช้ฝีมือ
แรงงานในอุตสาหกรรมในสัดส่วนที่สูงและประเทศไทยได้รับการยอมรับในเรื่องฝีมือแรงงานใน
อุตสาหกรรมอัญมณี นอกจากนี้อุตสาหกรรมดังกล่าวยังถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่มีโอกาสใน
อนาคต เนื่องจากอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมดังกล่าวในระดับโลกยังอยู่ในระดับที่สูง

(1.3) กลุ่มอุตสาหกรรมที่พัฒนาสังคม
แม้ว่าระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องปรับตัว อย่างไรก็ตาม
อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาต่อไป เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างงานและการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นในกลุ่มคือ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมเดียวภายในกลุ่มที่ตอบสนองต่อนโยบายที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการลดช่องว่างรายได้ของแรงงานในพื้นที่ จึงเห็นสมควรคัดเลือกอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมนำร่อง โดยมีรายละเอียดของอุตสาหกรรมนำร่องภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมที่พัฒนาสังคม ดังนี้

ตารางรายละเอียดอุตสาหกรรมภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมที่พัฒนาสังคม
(ที่มา: สำมะโนอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2550 และการวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)



• อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม แม้ว่าในภาพรวมของอุตสาหกรรมดังกล่าวจะอยู่ในกลุ่มที่ต้องปรับตัว
โดยมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่าอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ และในระดับโลก อย่างไรก็ตาม
อุตสาหกรรมดังกล่าวถือได้ว่ามีความสำคัญในด้านการตอบสนองต่อนโยบายที่สำคัญของประเทศ
ในด้านการลดช่องว่างรายได้ของแรงงานในพื้นที่ อีกทั้งยังมีการใช้เงินลงทุนและวัตถุดิบใน
ประเทศเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนสถานประกอบการและจำนวนแรงงานค่อนข้างสูง อาจ
กล่าวได้ว่า แม้มูลค่าโดยรวมของอุตสาหกรรมนี้อาจไม่มากนัก แต่ถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สร้าง
ผลประโยชน์แก่ประเทศไทยโดยตรง


(1.4) กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ โดยภาพรวมถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ อุตสาหกรรมที่ความ
โดดเด่นในกลุ่มดังกล่าว คือ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนอกจากจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพแล้ว ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูง และตอบสนองต่อนโยบายที่สำคัญของประเทศในด้านการยกระดับของอุตสาหกรรมโดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม จึงเห็นสมควรคัดเลือกอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมนำร่อง โดยมีรายละเอียดของอุตสาหกรรมนำร่องภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ดังนี้

ตารางที่  รายละเอียดอุตสาหกรรมภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
(ที่มา: สำมะโนอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2550 และการวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)




• อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพ โดย
เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุดของประเทศ ด้วยมูลค่าการส่งออกประมาณ 947.8
พันล้านบาทในปี พ.ศ. 2550 อีกทั้งยังตอบสนองต่อนโยบายที่สำคัญของประเทศในด้านการ
ยกระดับของอุตสาหกรรมโดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็น
อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการยกระดับรูปแบบการ
ดำเนินธุรกิจในลักษณะการรับจ้างผลิตสินค้าไปสู่การสร้างตราสินค้าของตนเองได้ในอนาคต

(1.5) กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและโครงสร้างสนับสนุน
อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ ถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยใน
ภาพรวม เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่สนับสนุนและยกระดับการพัฒนาของอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศโดยอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นในกลุ่มดังกล่าว คือ อุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยเฉพาะแม่พิมพ์เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการยกระดับอุตสาหกรรมไทย จึงเห็นสมควรคัดเลือกอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมนำร่อง โดยมีรายละเอียดของอุตสาหกรรมนำร่องภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและโครงสร้างสนับสนุน ดังนี้

ตารางรายละเอียดอุตสาหกรรมภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและโครงสร้างสนับสนุน
(ที่มา: สำมะโนอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2550 และการวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)


• อุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ (แม่พิมพ์) เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย
อย่างมาก เนื่องจากเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีความสำคัญในประเทศไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมนำร่องที่ได้ทำการคัดเลือกนั้น มีความจำเป็นต้องใช้
เครื่องจักรและอุปกรณ์ (แม่พิมพ์) ในการผลิตเป็นอย่างมาก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และ
ชิ้นส่วน อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็น
ต้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีความต้องการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ (แม่พิมพ์) สูงมาก
เนื่องจากยานยนต์เป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้นและชิ้นส่วนต่าง ๆ มักเป็นชิ้นส่วน
เฉพาะรุ่น เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรุ่นของยานยนต์ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์สำหรับการผลิต
ชิ้นส่วนรุ่นใหม่ ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ (แม่พิมพ์) จะเข้าไปมีบทบาทสำคัญใน
อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอย่างมาก

(1.6) กลุ่มอุตสาหกรรมที่รักษาสิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่จะช่วย
ยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศได้เป็นอย่างมาก โดยอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นในกลุ่มคือ
อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ทั้งในด้านแนวโน้มการขาดแคลนพลังงาน รวมถึงปัญหาภาวะโลกร้อนที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในระดับสากล จึงเห็นสมควรคัดเลือกอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมนำร่อง โดยมีรายละเอียดของอุตสาหกรรมนำร่องภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมที่รักษาสิ่งแวดล้อม ดังนี้

ตารางรายละเอียดอุตสาหกรรมภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมที่รักษาสิ่งแวดล้อม
(ที่มา: สำมะโนอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2550 และการวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)



• อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทน เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยและใช้งานอย่างกว้างขวาง
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและราคามีความผันผวนค่อนข้างมาก
ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนด้านพลังงานของประเทศไทย อุตสาหกรรม
พลังงานหมุนเวียน/ทดแทน จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต
(2) สอดคล้องกับเกณฑ์การคัดเลือกอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ประเด็นหลัก คือ
• สร้างประโยชน์และสร้างรายได้ตกอยู่ในประเทศเป็นจำนวนมาก ใช้วัตถุดิบในประเทศในการผลิต
และกระบวนการผลิตส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศ
• มูลค่าการส่งออกอยู่ในระดับที่สูง
• ตอบสนองต่อนโยบายสำคัญของประเทศ เช่น การลดช่องว่างรายได้ของแรงงานในพื้นที่ และการ
ยกระดับของอุตสาหกรรมโดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม
• ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ เช่น แนวโน้มการขาดแคลนอาหาร
ทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงาน รวมถึงปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นต้น
• เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการยกระดับอุตสาหกรรมไทย
จากเกณฑ์การคัดเลือกอุตสาหกรรม 5 ประเด็นนี้ สามารถระบุถึงอุตสาหกรรมที่มีลักษณะ
สอดคล้องกับเกณฑ์ดังกล่าวได้ดังนี้

ตารางความเชื่อมโยงระหว่างมิติการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างสมดุลและการจัดกลุ่มอุตสาหกรรม
(ที่มา: สำมะโนอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2550 และการวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)



(3) ครอบคลุมทุกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมนำร่องที่ทำการคัดเลือกจะต้องครอบคลุม
ถึงกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีระดับศักยภาพแตกต่างกัน 3 กลุ่ม คือ
• กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีจุดแข็งในการสร้างความได้เปรียบจาก
โอกาสและทิศทางในอนาคตที่เอื้ออำนวยให้
• กลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัว เป็นสาขาที่มีความสำคัญในปัจจุบันแต่มีแนวโน้มของขีด
ความสามารถการแข่งขันที่ลดลง และต้องปรับปรุง หรือปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ใน
อนาคต
• กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่มีโอกาสในอนาคต เป็นสาขาอุตสาหกรรมที่ควรให้การสนับสนุนและ
ส่งเสริม เนื่องจากมีโอกาสจากแนวโน้มความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และมีวัตถุดิบ
ภายในประเทศ รวมถึงสามารถเชื่อมโยงไปยังอุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ได้
จากการวิเคราะห์ภายใต้กรอบแนวคิดและเกณฑ์การคัดเลือกอุตสาหกรรมนำร่องดังกล่าวข้างต้น สามารถ
คัดเลือก 8 อุตสาหกรรมนำร่องที่ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยมีรายชื่อของอุตสาหกรรมและรายละเอียด
การคัดเลือกอุตสาหกรรมนำร่อง ดังต่อไปนี้

ตาราง รายชื่อ 8 อุตสาหกรรมนำร่องจำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม
(การวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)
กลุ่มอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมนำร่อง


สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

7 ข้อ ยกระดับอุตสาหกรรมไทย

สนับสนุนเนื้อหาโดย


การยกระดับโครงสร้างสนับสนุนอุตสาหกรรม
(Enhance competitive industry platform)



       แนวคิดการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศเป็นการกำหนดนโยบายสนับสนุน ส่งเสริม ปรับปรุงและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับภาคอุตสาหกรรมในภาพรวมให้สามารถรองรับการขยายตัวได้อย่างยั่งยืน ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมเป็นประเด็นหลักของประเทศ อ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมให้มีโอกาสในการทำตลาดได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย ที่ต้องการการสนับสนุนในด้านเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมทั้งการวางแผนอย่างครอบคลุมในการรองรับสถานการณ์การขาดแคลนแรงงานในระยะยาวผ่านแนวคิดการบูรณาการการศึกษาร่วมกับภาคอุตสาหกรรม โดยเน้นการผลิตและฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะความสามารถตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการในภาคการผลิต

(1) การบังคับใช้มาตรฐานการผลิตในด้านต่างๆ (Safety and Standards) มุ่งเน้นไปที่การสร้างการ
รับรู้ของตลาดต่างประเทศถึงศักยภาพและความน่าเชื่อถือของสินค้าที่ผลิตจากประเทศไทยว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมีการพัฒนาจากการส่งออกในรูปวัตถุดิบไปสู่การส่งออกในรูปของสินค้าสำเร็จรูป (Finished goods) ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง อย่างไรก็ดี การบังคับใช้มาตรฐานการผลิตสินค้านั้น จะต้องไม่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศด้วย

(2) สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Access to Capital) มุ่งเน้นไปที่การสร้างโอกาสในการเข้าถึง
แหล่งเงินทุนของกลุ่มผู้ประกอบการ สำหรับสนับสนุนการลงทุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และสร้างโอกาสในการแข่งขันกับนานาประเทศ เช่น การลงทุนพัฒนานวัตกรรม การลงทุนขยายกิจการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงการลงทุนที่สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม

(3) ยกระดับศักยภาพบุคลากร (Industry Specific Training Development Program) มุ่งเน้นไป
ที่การพัฒนาศักยภาพแรงงานให้มีความรู้ ทักษะ และปริมาณที่เพียงพอต่อการเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ในอนาคต โดยหน่วยงานภาครัฐจะต้องสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมร่วมกับภาคการศึกษา ในการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะฝีมือในการทำงานที่สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่งมีปัจจัยในการพัฒนาที่แตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม โดยอาศัยแนวคิดการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการทำงานจริงในสถานประกอบการ รวมถึงการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยที่ตรงกับความต้องการสำหรับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง

(4) พัฒนาทักษะแรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Training) สำหรับบุคลากรเฉพาะด้านโดยความ
ร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และสถานประกอบการภาคเอกชน และสร้างความเชื่อมโยงความต้องการด้านทักษะฝีมือแรงงานเฉพาะด้านของสถานประกอบการเข้ากับหลักสูตรอาชีวศึกษา

(5) พัฒนากฎระเบียบและข้อบังคับที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม (Relaxing constraints)
มุ่งเน้นไปที่ การปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกฎระเบียบที่ไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ รวมไปถึงกฎระเบียบในการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน

(6) ส่งเสริมนวัตกรรม และปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา (Innovation and IP) มุ่งเน้นไปที่การ
ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมของผู้ประกอบการในประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้า ซึ่งอาจทำได้โดยการสนับสนุนเงินทุนสำหรับการวิจัยและพัฒนาต่อยอดสินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดและสามารถผลิตได้จริงในเชิงอุตสาหกรรม รวมไปถึงการพัฒนากลไกการบริหาร และปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพ โดยให้สิทธิ์ของผลงานกับนักวิจัย เพื่อกระตุ้นให้นักวิจัยพัฒนาผลงานได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว

(7) ส่งเสริมการบริหารจัดการอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ (Industrail Administration) และ
สนับสนุนการบูรณาการความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งส่วนราชการ เอกชน และชุมชน โดยการกระจายอำนาจจากส่วนกลางให้มีหน่วยงาน หรือองค์กรที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการอุตสาหกรรมในพื้นที่ และบริหารความสัมพันธ์ระหว่างอุตสาหกรรมและสังคม รวมไปถึงการจัดสรรทรัพยากร (ที่ดิน น้ำ ไฟฟ้า วัตถุดิบ ฯลฯ) ที่รองรับการพัฒนาและขยายตัวของอุตสาหกรรม โดยให้ชุมชน และประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่

          อย่างไรก็ดี แนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมตามกรอบนี้ เป็นเพียงแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาพรวม ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทุกอุตสาหกรรมรายย่อยต้องมีการพัฒนาร่วมกัน หรือเชื่อมโยงกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน หากแต่การพัฒนาในรายอุตสาหกรรมย่อยนั้น จำเป็นจะต้องมีแนวคิดการพัฒนาที่มีลักษณะเฉพาะ เพื่อให้มีความชัดเจนและเหมาะสมในการพัฒนารายอุตสาหกรรม แต่ยังคงอาศัยแนวคิดพื้นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาพรวมนี้เป็นหลัก สำหรับการพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต


สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย จากอดีตถึงอนาคต

สนับสนุนเนื้อหาโดย


Originally conceptualized for a computer game, Bugatti turned the virtual world into a reality by unveiling the Bugatti Vision Gran Turismo.

     ประเทศไทยเริ่มต้นอุตสาหกรรมรถยนต์โดยเลือกยุทธศาสตร์รับจ้างผลิต ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียที่เลือกสร้างแบรนด์ตนเอง อย่างไรก็ตามข้อดีของทางเลือกของไทยคือเราได้รับคำสั่งการผลิตจำนวนมหาศาลจนกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักของไทย โดยแนวโน้มของการพัฒนาสินค้ายานยนต์นั้น ประเทศไทยจะต้องมุ่งเน้นไปที่สินค้าหลัก 4 ชนิด คือ

1 รถปิกอัพไม่เกิน 1 ตัน
2 รถยนต์นั่งขนาดเล็กคุณภาพสูง
3 รถจักรยานยนต์
4 อะไหล่และชิ้นส่วนตกแต่ง


โดยประเทศไทยควรจะขยายบทบาทจากการเป็นฐานการประกอบยานยนต์ไปสู่การมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์และระบบสำเร็จรูปที่สำคัญสำหรับยานยนต์ในอนาคต คือ รถไฮบริด รถไฟฟ้า และรถ fuel cell อีกด้วย ซึ่งระบบและอุปกรณ์ของยานยนต์ในอนาคตเหล่านี้จะมีบทบาทในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในอนาคตเป็นอย่างมาก ประเทศไทยควรส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับโลกให้สร้างฐานการผลิตอุปกรณ์


     ประเทศไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์มานานกว่า 40 ปี และได้รับการ
ยอมรับให้เป็นประเทศฐานการผลิตที่มีคุณภาพ ทั้งยังเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน และเป็นประเทศฐานการผลิตรถปิกอัพไม่เกิน 1 ตันเป็นอันดับ 1 ของโลก เพื่อรักษาศักยภาพในการแข่งขันและสร้างจุดยืนที่มั่นคงของประเทศไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของโลก ได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไว้ดังนี้ “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์แห่งเอเชียสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศโดยมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนที่มีความเข้มแข็ง”

     แนวทางในการพัฒนาให้ประเทศไทยสามารถก้าวเข้าสู่การเป็นฐานการผลิตแห่งเอเชียได้นั้นจะ
ประกอบด้วย 4 แนวทางหลัก โดยจะมีการวางแนวทางการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้งกับผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย และมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


(1) ยกระดับฝีมือแรงงานเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและรองรับเทคโนโลยีในอนาคต
ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ขาดแรงงานประมาณ 100,000 คน และประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะขาดแคลนแรงงานฝีมือมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพื่อคงไว้ซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จำเป็นต้องมีการยกระดับฝีมือแรงงานในทุกแขนง เพื่อยกระดับความสามารถในการผลิต และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระดับโลก นอกจากการเร่งพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนในปัจจุบันแล้ว จะต้องวางแนวทางการพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับเทคโนโลยียานยนต์ในอนาคตที่จะมีเทคโนโลยีระดับสูงเพิ่มขึ้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถสื่อสารความต้องการทักษะแรงงานแก่สถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกันและร่วมประเมินผลคุณภาพหลักสูตรและผู้จบการศึกษาเพื่อการพัฒนาฝึมือแรงงานในอนาคต และเพื่อสร้างความมั่นคง และความก้าวหน้าในสายอาชีพแก่แรงงาน จึงจำเป็นต้องพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพของแรงงาน (Career path) ให้ชัดเจนจะทำให้แรงงานฝีมือรับรู้ว่าอาชีพการงานมีความมั่นคงและสามารถพัฒนาอาชีพการงาน เพื่อแก้ไขปัญหาด้านทัศนคติของแรงงาน รวมถึงการสร้างมาตรฐานการรับรองทักษะฝีมือแรงงาน (Skill certification) โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ และภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างมาตรฐานแรงงานที่เป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วนและกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เหมาะสมตามความรู้ความสามารถของแรงงาน ก็จะสร้างความมั่นคงในอาชีพและความก้าวหน้าในสายอาชีพแก่แรงงานเพิ่มมากขึ้น


(2) พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศและสร้างการพึ่งพาเทคโนโลยีภายในประเทศ
การวางนโยบายระยะยาวต้องมีความชัดเจน เพื่อส่งสัญญาณที่ดีแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทำให้เกิดความเชื่อมั่นและเกิดการลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้จะต้องทบทวนโครงการหรือมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ และความโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการทุกระดับ โดยเฉพาะนโยบายพลังงานสำหรับยานยนต์ที่ชัดเจน พิจารณาโครงสร้างภาษีโดยมีการประเมินความคุ้มค่าของมาตรการต่าง ๆ อย่างรอบคอบ และสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการในประเทศทั้งผู้ประกอบการไทย และผู้ประกอบการต่างชาติการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศ สามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต โดยมีผู้ประกอบการไทยเป็นผู้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่และผู้ประกอบการวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สามารถเน้นการสร้างมูลค่า (Value Creation) ให้เกิดผลประโยชน์ภายในประเทศสูงสุด โดยมีแนวทางในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ของประเทศไทย ดังนี้
ผลิตและส่งออกรถยนต์ไฮบริดและรถไฟฟ้า รวมถึงชิ้นส่วนและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น
แบตเตอร์รี่ ระบบชาร์จไฟฟ้า ระบบเปลี่ยนแบตเตอร์รี่ สถานีชาร์จไฟฟ้า เป็นต้น
ดึงดูดความสนใจบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำของโลก เพื่อให้เกิดฐานการผลิตชิ้นส่วน
เทคโนโลยีระดับสูง และส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการไทย และพัฒนาให้เกิดฐาน
การวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนในประเทศไทย
สร้างมาตรฐานความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยเทียบเท่ากับกลุ่มประเทศยุโรปเพื่อ
สร้างภาพลักษณ์สินค้ายานยนต์คุณภาพสูง
เตรียมความพร้อมในการพัฒนารถ Fuel Cell ใน 20 ข้างหน้า
และเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการไทยเพื่อการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์
และกระบวนการผลิต ศูนย์ทดสอบและสนามทดสอบมีจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากมาตรฐานด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมจะมีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น สินค้ายานยนต์จึงจำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานและคุณภาพอย่างเข้มงวดโดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไปยังประเทศพัฒนาแล้ว


(3) เชื่อมโยงอุตสาหกรรมสร้างความมั่นคงทางวัตถุดิบต้นน้ำเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ผลักดันให้มีแนวทาง และผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในการสนับสนุนอุตสาหกรรมวัตถุดิบต้นน้ำภายในประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมภายในประเทศ และสร้างความเชื่อมโยงวัตถุดิบต้นน้ำกับกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบต้นน้ำแก่อุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมวัตถุดิบต้นน้ำโดยเฉพาะเหล็กและโลหะต่าง ๆ มักได้รับการต่อต้านจากชุมชนว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สกปรกและทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว วัตถุดิบต้นน้ำที่สำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ คือเหล็กและโลหะขั้นกลาง และอุตสาหกรรมการแปรรูปเหล็กและโลหะขั้นกลางเป็นอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่สะอาดแตกต่างจากอุตสาหกรรมการถลุงเหล็กและโลก ดังนั้น จำเป็นต้องทำความเข้าใจกับชุมชนว่าอุตสาหกรรมวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่แท้จริงคืออะไร สามารถควบคุมสภาวะสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร และภาครัฐจะต้องมีมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดเพื่อให้ชุมชนสามารถมั่นใจในการดำเนินการของอุตสาหกรรมว่าจะไม่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนโดยรอบ

(4) ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศไทย
กำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุนในภาพรวมของอุตสาหกรรม ที่สามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมใน
ประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการวางนโยบายระยะยาวของภาครัฐจะต้องมีความชัดเจนและกำหนดเงื่อนไขในการปรับเปลี่ยนอย่างชัดเจนซึ่งจะส่งสัญญาณที่ดีแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทำให้เกิดความเชื่อมั่นและเกิดการลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ภาครัฐจะต้องทบทวนโครงการหรือมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจและความโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการทุกระดับ และเพื่อให้ทิศทางการสนับสนุนเทคโนโลยียานยนต์เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง จำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางหรือคณะกรรมการกลางที่มีตัวแทนจากภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ โดยมีสถาบันยานยนต์เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานระหว่างรัฐและเอกชนการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวทางดังกล่าวมาเบื้องต้น จำเป็นที่จะต้องมีการวางกรอบระยะเวลาในการพัฒนาที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและตอบสนองต่อเทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสร้างความต่อเนื่องในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรักษาการเป็นฐานการผลิตยานยนต์คุณภาพสูงของเอเชียในอนาคต


สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

โลกาภิวัตน์และผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทย

 สนับสนุนเนื้อหาโดย
บริษัท อัลตร้า-คอมเพรสเซอร์ จำกัด

กระแสโลกาภิวัตน์และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทย

1. รัฐศาสตร์
   1.1 ผลกระทบของการก่อการร้ายข้ามชาติ
   1.2 ผลกระทบจากเสถียรภาพทางการเมือง




2. เศรษฐศาสตร์
   2.1 การย้ายศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีมายัง บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน
   2.2 การเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงาน และการลดลงของกำลังซื้อในกลุ่มประเทศอเมริกาและยุโรป
   2.3 ผลกระทบจากข้อตกลงระหว่างประเทศ (เช่น กรอบข้อตกลงทางการค้า) มีผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายเพิ่มขึ้น
   2.4 บทบาทมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีที่เพิ่มขึ้น
   2.5 การเพิ่มขึ้นของบทบาทของภูมิภาคเอเชียมาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก และการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน (AEC)
   2.6 การรวมฐานการผลิตเข้ามาสู่ตลาดเดียวภายในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้น
   2.7 การกีดกันทางการค้าภายในภูมิภาคอาเซียนที่ลดลง
   2.8 ปริมาณการค้าระหว่างประเทศภายในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนที่เพิ่มขึ้น
   2.9 การลดลงของความแตกต่างด้านขีดความสามารถในการผลิตของประเทศต่างๆ
   2.10 การเปลี่ยนของระบบเทคดนโลโยี เช่นการผลิตโดย 3D Printer







3. ประชากรศาสตร์
   3.1 ประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการดูแลกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้น ในขณะที่คนทำงานวัยหนุ่มสาวมีน้อยลง
   3.2 ประชากรวัยทำงานที่ลดลง ส่งผลให้แรงงานลดลงในประเทศที่พัฒนาแล้ว
   3.3 การเคลื่อนย้ายฐานบุคลากรระดับมันสมองไปยังกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
   3.4 การเคลื่อนย้ายประชากรจากชนบทเข้าสู่สังคมเมือง
   3.5 การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างภาคเกษตรกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรม
   3.6 จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศมุสลิม ทวีปแอฟริกา
          3.6.1 ฐานแรงงานต้นทุนต่ำที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศมุสลิม ทวีปแอฟริกา
          3.6.2 ความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้นของประชากรในกลุ่มประเทศมุสลิม
          3.6.3 การขยายฐานการผลิตด้านเกษตร/อุตสาหกรรมไปยังกลุ่มประเทศที่สาม
   3.7 การเพิ่มขึ้นของกำลังซึ้อจากจำนวนกลุ่มชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้นใน เอเชีย
ยุโรปกลาง ลาตินอเมริกา
   3.8 ความตระหนักถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยของอาหาร และสุขภาพเพิ่มขึ้น





4. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
   4.1 ภาวะวิกฤตปริมาณมลภาวะ และอุณหภูมิของบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
        4.1.1 ภาวะวิกฤตการขาดแคลนน้ำที่เพิ่มขึ้น
        4.1.2 ภาวะวิกฤตการขาดแคลนพลังงานที่เพิ่มขึ้น
        4.1.3 ภาวะการขาดแคลนอาหารที่เพิ่มขึ้น
        4.1.4 ภาวะวิกฤตความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาดใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้น
   4.2 ความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมทำให้ลดการบริโภคสินค้าอุตสาหกรรมที่มีผลต่อ
สิ่งแวดล้อม
   4.3 ข้อเรียกร้องขององค์กรสิทธิต่างๆ (เช่น ปัญหาภาวะโลกร้อน) มีผลต่อการปรับเปลี่ยน





สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

ผู้ประกอบการไทย ไปสู่ผู้ประกอบการโลก


 สนับสนุนเนื้อหาโดย
บริษัท อัลตร้า-คอมเพรสเซอร์ จำกัด


การยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน 
(Upgrade and createsustainable entrepreneur)






      แนวโน้มของทั้งโลกในยุคปัจจุบัน บริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ๆมีแนวโน้มที่จะกลืนบริษัทเล็กๆเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตน การพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทยนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาการส่งเสริมและแนวทางจากรัฐ ถ้าหากหวังจะสร้างความยั่งยืนในแบรนด์ที่เป็นของไทย อันหมายถึงการเป็นผู้ได้รับส่วนของกำไรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย มีสภาพความเป็นเจ้าของแบรนด์ เจ้าของวัฒนธรรมองค์กร และทรัพย์สินทางปัญญาในอนานคต เหมือนดังเช่นที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้ง Toyota หรือ Honda หรือสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของแอปเปิ้ล และไมโครซอฟต์

      แนวคิดในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้มีศักยภาพ และความเข้มแข็งนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาทั้งในด้านการเพิ่มจำนวน และสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ตลอดจนการยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน จึงนำมาซึ่งกลยุทธ์การพัฒนาผู้ประกอบการไทยใน 4 ประเด็น ดังต่อไปนี้


(1) เพิ่มจำนวนผู้ประกอบการ SME (Build SME) โดยดึงดูดให้ประชาชนให้ความสนใจในการพัฒนา
ไปสู่การเป็นผู้ประกอบการไทยในรูปแบบของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงให้กับสินค้าและบริการ หรือก็คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า การทำตลาด และการทำ Branding

(2) สร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ SME (Strengthen SME) ในกลุ่มผู้ประกอบการที่เริ่มต้นดำเนินงาน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ก็ถือได้ว่าเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยจะต้องพัฒนาให้ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวให้สามารถพึ่งพาตนเอง และมีความพร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้ ดดยมีการวางแผนการตลาดะดับใหญ่จากภาครัฐ การขึ้นโครงทางการตลาด ทั้งกลุ่มลูกค้า และปัจจัยการอำนวยความสะดวก สร้างสายป่านในประเทศให้ยาว

(3) ยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการ (Upgrade Entrepreneur) มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผู้ประกอบการไทยที่มีความเข้มแข็ง มีมาตรฐานรองรับในด้านต่าง มีแบรนด์ มีชื่อเสียง เพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันจากตลาดภายในประเทศไปสู่ตลาดต่างประเทศ

(4) สร้างความยั่งยืนของผู้ประกอบการไทย (Sustain Entrepreneur) มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพทางการแข่งขันในระดับสากล โดยดารพัฒนาองค์ความรู้แบบมหาลัยของผู้ประกอบการ  ให้สามารถรักษาระดับศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในการยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่ระดับสากลนั้น จะต้องมีการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไทยเพื่อเข้าสู่การเปิดการค้าเสรีระดับสากล รวมทั้งต้องมีการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสร้างโอกาสในการขยายตลาดใหม่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ควรสร้างโอกาสจากความร่วมมือในระดับอาเซียน ซึ่งมีแนวทางดังต่อไปนี้



 


หลังจากนั้นในระดับตลาดโลก
ก็ต้องสร้างความพร้อมข้ามตลาด โดยมีเป้าหมายให้แบรนดดิ่งของไทย
ให้เป็นที่รู้จักในความคิดของคนทั้งโลก

(5) เตรียมความพร้อมสู่การเปิดเสรี (Undertaking Progressive Liberalization) ในส่วนของผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำเป็นที่ต้องเตรียมความพร้อมในการเปิดการค้าเสรี รวมทั้งต้องสร้างกลไกเพื่อป้องกันตลาดภายในประเทศจากผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

(6) สร้างโอกาสในการขยายตลาดใหม่ๆ (Access to Global Market Opportunities) ในการเปิดการค้าเสรีจะทำให้ประเทศไทยเห็นถึงความต้องการที่หลากหลายและมีอยู่จำนวนมาก จึงควรสร้างโอกาสในการหาช่องทางที่จะเข้าถึงตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะในตลาดประเทศเกิดใหม่ รวมถึงตลาดของกลุ่มชนชั้นกลางที่มีแนวโน้มการขยายจำนวนเพิ่มมากขึ้น

(7) สร้างโอกาสจากความร่วมมือ (Access to Global Network Collaboration) ในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน (AEC) เน้นให้ความสำคัญในการยกระดับความร่วมมือจากการประชาคมดังกล่าวโดยมุ่งเน้นการประสานประโยชน์ร่วมกันเป็นสำคัญ


สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ใน 20 ปีข้างหน้า

 สนับสนุนเนื้อหาโดย
บริษัท อัลตร้า-คอมเพรสเซอร์ จำกัด



สรุปแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

โดย แผนการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574

    เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อโลกค่อนข้างมาก ทั้งในด้านของประโยชน์การใช้งานที่หลากหลายและความสามารถในการส่งต่อข้อมูลข่าวสารต่างๆในปัจจุบัน ตลอดจนเป็นฐานการพัฒนาของอุตสาหกรรมอื่น เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆค่อนข้างมาก และด้วยแนวโน้มและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้การดำเนินชีวิตและความต้องการของผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนแปลงไป เหล่านี้ล้วนส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย โดยมีแนวโน้มในการเติบโตตามผลิตภัณฑ์หลักๆของอุตสาหกรรม เช่น อุปกรณ์โทรคมนาคมโดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล (Consumer Electronics) อิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ที่จะมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการ





        พัฒนาของเทคโนโลยีจะมาจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพราะเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่สำคัญสำหรับแนวโน้มของผลิตภัณฑ์ในอนาคตจะต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในอนาคตได้และสอดคล้องกับลักษณะการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ผลิตภัณฑ์ในอนาคตจะต้องสามารถทำงานได้ในหลากหลายฟังก์ชั่นการใช้งาน มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและต้องพกพาได้สะดวก ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีขนาดที่เล็กลงและน้ำหนักเบา รวมทั้งมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาสินค้าที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้พลังงานที่น้อยลง โดยพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถควบคุมกระบวนการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ และนำไปสู่การลดปริมาณการใช้พลังงานในกระบวนการนั้นลง เช่น พัฒนาเซนเซอร์เพื่อควบคุมให้มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุดในบ้านและที่ทำงาน การใช้ป้ายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยจัดการการขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อสอดรับกับกระแสการขาดแคลนพลังงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 Image result for electronic

       นับเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของประเทศผู้ผลิตทั่วโลกให้ต้องดำเนินการวิจัยและพัฒนาสินค้าให้สามารถตอบสนองต่อตลาดได้ภายใต้กระบวนการผลิตที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคมและสามารถผลิตสินค้าภายในระยะเวลาอันรวดเร็วด้วยประเทศไทยก็นับเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมนี้ โดยที่ปัจจุบันไทยมีศักยภาพโดดเด่นในด้านของการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ และตราสินค้าของไทยก็ได้รับการยอมรับในระดับหนึ่ง เพราะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมาก ไทยจึงศักยภาพในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะพบว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยการลงทุน
สูงและใช้เทคโนโลยีระดับสูง อุตสาหกรรมส่วนใหญ่จึงเป็นการร่วมลงทุนระหว่างผู้ประกอบการไทยกับต่างชาติและไทยจะมีบทบาทในการเป็นผู้รับจ้างผลิต โดยจุดแข็งของประเทศจะอยู่ที่ความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีขนาดเล็กและแม่นยำสูง



        เหล่านี้นำไปสู่การวางวิสัยทัศน์ให้กับประเทศไทยในการ “เป็นผู้นำของอาเซียนและอันดับต้นของเอเชีย ในการผลิตและส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ด้วยการสร้างนวัตกรรมและการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงาน” สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า “เป็นผู้นำด้านผลิตและส่งออก HDD และEMS ในอาเซียน และสร้างคุณค่า (Value creation) ให้แก่อุตสาหกรรม เพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ(New Wave Products) ในอนาคต” สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และมุ่ง “พัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้ากำลังให้มีขีดความสามารถในการผลิตและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม”


      สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้ากำลังโดยที่ประเทศไทยจะเป็นฐานการผลิตและพัฒนาสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะในกลุ่มตลาดเฉพาะ(Niche) สำหรับกลุ่มผู้บริโภคในประเทศจีน สหรัฐอเมริกา อาเซียน และจากนั้นจะขยายไปสู่กลุ่มตลาดใหม่ ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะเน้นการพัฒนาไปสู่กระบวนการผลิตชิ้นงานที่มีความเล็กลงและความแม่นยำพิเศษที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง (Precision Manufacturing) โดยจากขยายการผลิตจากสินค้าหลัก เช่น ฮาร์ดดิสไดร์ฟ(Harddisk drive) อุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เน้นกระบวนการผลิตที่อาศัยความเที่ยงตรงสูงซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทยและเป็นที่เชื่อถือสำหรับการลงทุนของบริษัทข้ามชาติระดับโลก นับเป็นโอกาสที่ไทยต้องอาศัยความมีศักยภาพในจุดนี้ในการพัฒนาต่อไป เพื่อคงไว้ซึ่งความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่อง โดยพัฒนาโครงสร้างสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นศูนย์กลางการออกแบบและการทดสอบที่ครบวงจรของภูมิภาคในการรองรับการพัฒนาที่ต่อเนื่องจากการวางวิสัยทัศน์และกำหนดบทบาทให้กับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยอย่างชัดเจน ก็จะนำไปสู่แนวทางการพัฒนาให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งประกอบด้วย 4 แนวทางหลักดังรูปข้างบน โดยจะครอบคลุมในส่วนของแนวทางการพัฒนาในด้านของแรงงาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์และปรับปรุงกระบวนการผลิต การสร้างความเข้มแข็งในการร่วมมือกันในกลุ่มผู้ประกอบการในห่วงโซ่คุณค่า ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างสนับสนุน เพื่อก่อให้เกิดการยกระดับอุตสาหกรรมต่อไป


สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com