วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

การสร้างแบรนด์ รับมือกับอุตสาหกรรมค่าแรงต่ำ


สนับสนุนเนื้อหาโดย
บริษัท อัลตร้า-คอมเพรสเซอร์ จำกัด



   อุตสาหกรรมการผลิของโลกจะไหลไปสู่ประเทศที่ค่าแรงต่ำเสมอ ในอดีตก็เช่นการที่ประเทศอุตสหกรรมอย่างญี่ปุ่นย้ายฐานผลิตมาที่ประเทศไทย หรือการที่ประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปได้ไปสร้างฐานผลิตในประเทศโลกที่ 3 ทั้งหมดนั้นก็เพื่อลดต้นทุนให้ต่ำลง พลังงานถูกลง และรักษาสถานะกำไรสูงสุดเอาไว้


       ในขณะนี้ประเทศอย่างจีน เวียดนาม และแอฟริกามีความพร้อมมากขึ้นทุกทีๆในการเป็นประเทศฐานผลิต ดังนั้นประเทศไทยเราที่มีค่าแรงสูงขึ้นแล้วจะต้องดิ้นรนในการรักษาข้อได้เปรียบของเราไว้ เช่น การพัฒนาทักษะของแรงงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ การสร้างสาธารณูปโภคให้พร้อมมากขึ้น และสิ่งที่สำคัญคือการสร้างแบรนด์ให้โลกจดจำ เชื่อถือ และมีความภักดีต่อแบรนด์เรา ทำให้ตลาดไม่เปลี่ยนใจไปจากผลิตภัณฑ์ของเรา โดยการชูจุดเด่นที่คนอื่นจะไม่มีทางแย่งไปได้ เช่น เมื่อเอ่ยถึงแบรนด์เนมต้องเป็นฝรั่งเศสหรืออิตาลี ถ้าเอ่ยถึงโสมต้องเกาหลีใต้ เอ่ยถึงชาเขียน ซูชิ ต้องญี่ปุ่น เอ่ยถึงวงการไอทีต้องอเมริกา เอ่ยถึงเครื่องจักรกลต้องเยอรมัน เป็นต้น






ในการสร้างความได้เปรียบสำหรับการบุกตลาดระดับโลก โดยเฉพาะเจ้าของตราสินค้าชื่อดังต่างๆ เพื่อแข่งขันกับประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำต่อไปในอนาคต โดยแนวทางการสร้างเครือข่ายจะประกอบด้วย

• การสร้างและขยายเครือข่ายการผลิต : ในช่วงเริ่มต้นนั้นจะเป็นเพียงการสร้างเครือข่ายการผลิต
แต่ในขั้นตอนถัดไปนั้นจำเป็นต้องขยายการสร้างเครือข่ายการผลิตนี้ให้กับผู้ประกอบการที่มี
ศักยภาพในวงกว้างต่อไป

• การพัฒนาระบบการผลิตในเครือข่ายอาเซียน : เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการผลิตสินค้าให้กับประเทศ
ทั่วโลก ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องมีการพัฒนากระบวนการผลิตทั้งในด้านของการยกระดับ
มาตรฐานการผลิตให้อยู่ในระดับสากล การปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพอย่าง
สม่ำเสมอ รวมทั้งการให้ความสำคัญสำหรับการพัฒนาในส่วนของวัตถุดิบต้นน้ำ

(2) การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการรายย่อยในการขยายตลาดไปสู่ระดับภูมิภาคอาเซียน
แนวทางนี้จะมุ่งเน้นการออกแบบและการสร้างตราสินค้าของผู้ประกอบการไทยให้ได้รับความนิยม โดย
เริ่มต้นจากในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งจะเหมาะกับผู้ประกอบการไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการออกแบบสินค้า โดยแนวทางการพัฒนานี้จะทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้ค่อนข้างมาก โดยแนวทางการพัฒนามีดังนี้

     • การพัฒนาช่องทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย : การดำเนินการตลาดในปัจจุบันต้อง
นำไปสู่การตลาดเชิงรุกมากขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ ดังนั้นแนวทางการพัฒนา
ช่องทางตลาดจึงควรเริ่มต้นจากการสร้างภาพลักษณ์ให้กับประเทศถึงความทันสมัยและการเป็น
ผู้นำแฟชั่น รวมทั้งการสร้างโอกาสทางการตลาดสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย เช่น การ
สร้างความหลากหลายของสินค้า และการตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าในกลุ่มประเทศเป้าหมาย

    • การส่งเสริมศักยภาพของนักออกแบบไทย : การส่งเสริมศักยภาพของนักออกแบบนั้นสามารถ
ดำเนินการได้ในหลายมิติ ทั้งในด้านของการสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ การส่งเสริมการพัฒนา
ศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการสร้างความเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อให้สามารถผลิต
สินค้าที่มีความทันสมัยได้




 การสนับสนุนและพัฒนาการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าสิ่งทอเทคนิค
สิ่งทอเทคนิคเป็นสินค้าที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ค่อนข้างสูง แต่จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อม
สำหรับการพัฒนาสินค้าชนิดนี้ ดังนั้นแนวทางในการสนับสนุนการพัฒนาสิ่งทอเทคนิค จึงมุ่งสู่การพัฒนาในด้านของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด

สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น