วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

จุดอ่อนของอุตสาหกรรมไทย 3 : ผลิตโดยพึ่งพามหาอำนาจ


สนับสนุนเนื้อหาโดย

บริษัท อัลตร้า-คอมเพรสเซอร์ จำกัด






      สำหรับประเทศไทย นับว่ามีศักยภาพทางด้านการผลิตทั้งในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการ
บริการ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการจ้างงานจำนวนมากให้แก่ประชาชนในประเทศ  โดยการก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมไทยเริ่มในทศวรรษที่ 1980 โดยมาจากการที่ประเทศญี่ปุ่นที่เป็นประเทสอุตสาหกรรมที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลกยาวนานตั้งแต่ ค.ศ. 1968 -2011 ถูก IMF บีบให้ลอยตัวค่าเงินให้สูงขึ้นในสนธิสัญญาพลาซ่า (Plaza Accord) จนค่าเงินเยนพุ่งจากราวๆ 100 เยน/ดอลลาร์ US สูงเป็นราวๆ 155 เยน/ดอลลาร์ US  อันหมายถึงราคาสินค้าที่ผลิตจากญี่ปุ่นจะพุ่งสูงขึ้นราวๆ 50 %

ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าว ญี่ปุ่นจึงต้องห่าวิธีลดต้นทุนในการผลิตของตนลง ดังนั้นจึงต้องหาประเทศที่ค่าแรงงานถูกและมีความพร้อมเหมาะสม และทั้งนี้ ในราวๆปี ค.ศ. 1985 ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่ได้รับเลือกนั้น ดังนั้นญี่ปุ่นจึงได้ทยอยเข้ามาเปิดโรงงานผลิตในไทย โดยอุตสาหกรรมของไทยกว่า 70% เป็นกลุ่มบริษัทจากทุนญี่ปุ่น ดังนั้นประเทศไทยจึงเคยชินกับรูปแบบของอุตสาหกรรมการผลิต หรือรับจ้างผลิต



ดังนั้นในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน และมีแบรนด์เป็นของตนเอง จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้มีปริมาณ คุณภาพเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันให้ทัดเทียมกับต่างชาติ เพื่อให้อุตสาหกรรมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ การค้า ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศต่อไปการวางกรอบแนวคิดในการกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย


นอกจากจะต้องคำนึงถึงกระแสโลกาภิวัตน์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งภูมิประชากรศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ภูมิเศรษฐศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในองค์รวมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ รวมถึงข้อจำกัดและเงื่อนไขในด้านอื่นๆ ของประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ภาพของโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศไทยในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นประเทศไทยจะต้องมีการเตรียมพร้อมในการรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบต่อภาคอุตสาหกรรม โดยบริบทหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดทิศทางการ
พัฒนาอุตสาหกรรม ปรากฏตามรายละเอียดในหัวข้อต่อไป



ปัจจัยของอุตสาหกรรมระดับโลก
บริบทของการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในอนาคต ได้แก่
การให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาค เช่น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC:ASEAN Economic Community) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรโลก ซึ่งส่งผลให้ประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ประชากรวัยทำงานมีจำนวนลดลง และ ปัญหาการวิกฤตพลังงานและอาหารที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆ อาทิ รูปแบบของตลาด การแข่งขัน การสร้างความร่วมมือ ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป รูปแบบกฎระเบียบ การพัฒนาทางเทคโนโลยี และสภาวะแวดล้อมของสังคม ซึ่งรูปแบบต่างๆ สามารถจัดกลุ่มเป็น 4 ด้านคือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์

โดยปัญหาโครงสร้างของประชากรก็พบปัญหาเช่นกัน
เนื่องจากคนเลือกที่จะมีชีวิตโสด หรือไม่มีลูกมากขึ้นดังนั้นเด็กเกิดใหม่ก็จะน้อยลงๆ
ดังภาพ / ฐาน = เด็กอายุน้อยๆ ไล่ไปถึง ยอด = คนวัยชรา


ในปี 2503 = ฐานกว้าง หมายถึงมีจำนวนเด็กมหาศาล ส่วนยอดแคบหมายถึงมีคนชราจำนวนไม่มาก
ในปี 2523 = ฐานยังกว้าง แต่คนในวัยหนุ่มสาวก็มากขึ้น เป็นแรงงานพัฒนาประเทศได้มาก บริโภคมาก เศรษฐกิจก็โตมาก
ในปี 2543 = คนวัยผู้ใหญ่เริ่มมากขึ้น ในขณะที่ฐานแคบลงๆ เด็กไม่ค่อยเกิด
อนาคตในปี 2563 = ฐานแคบ เด็กเกิดใหม่น้อย แรงงานน้อยลง ในขณะที่คนชรามีสูงขึ้น
รัฐจะต้องจ่ายงบเลี้ยงคนชรามากขึ้น ไม่ว่าจะค่าสวัสดิการหรือพยาบาล ในขณะที่แรงงานเราน้อยลง
ประเทศจะจนลงๆ ไม่เติบโต คนเก่งๆหน่อยก็จะหนีไปประเทศที่กำลังโต


 


ภูมิเศรษฐศาสตร์ ภูมิประชากรศาสตร์ และ สภาพภูมิอากาศ
ภูมิเศรษฐศาสตร์ จะเกิดการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ เช่น ในภูมิภาคอาเซียน มีการย้าย
ศูนย์กลางการพัฒนาในกลุ่มประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน (BRICs - Brazil, Russia, India, and China) การลดลงของกำลังซื้อในกลุ่มประเทศอเมริกา และยุโรป ผลกระทบจากข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายเพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของบทบาทของภูมิภาคเอเชียมาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก



สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น