วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

ผู้ประกอบการไทย ไปสู่ผู้ประกอบการโลก


 สนับสนุนเนื้อหาโดย
บริษัท อัลตร้า-คอมเพรสเซอร์ จำกัด


การยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน 
(Upgrade and createsustainable entrepreneur)






      แนวโน้มของทั้งโลกในยุคปัจจุบัน บริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ๆมีแนวโน้มที่จะกลืนบริษัทเล็กๆเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตน การพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทยนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาการส่งเสริมและแนวทางจากรัฐ ถ้าหากหวังจะสร้างความยั่งยืนในแบรนด์ที่เป็นของไทย อันหมายถึงการเป็นผู้ได้รับส่วนของกำไรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย มีสภาพความเป็นเจ้าของแบรนด์ เจ้าของวัฒนธรรมองค์กร และทรัพย์สินทางปัญญาในอนานคต เหมือนดังเช่นที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้ง Toyota หรือ Honda หรือสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของแอปเปิ้ล และไมโครซอฟต์

      แนวคิดในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้มีศักยภาพ และความเข้มแข็งนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาทั้งในด้านการเพิ่มจำนวน และสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ตลอดจนการยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน จึงนำมาซึ่งกลยุทธ์การพัฒนาผู้ประกอบการไทยใน 4 ประเด็น ดังต่อไปนี้


(1) เพิ่มจำนวนผู้ประกอบการ SME (Build SME) โดยดึงดูดให้ประชาชนให้ความสนใจในการพัฒนา
ไปสู่การเป็นผู้ประกอบการไทยในรูปแบบของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงให้กับสินค้าและบริการ หรือก็คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า การทำตลาด และการทำ Branding

(2) สร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ SME (Strengthen SME) ในกลุ่มผู้ประกอบการที่เริ่มต้นดำเนินงาน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ก็ถือได้ว่าเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยจะต้องพัฒนาให้ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวให้สามารถพึ่งพาตนเอง และมีความพร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้ ดดยมีการวางแผนการตลาดะดับใหญ่จากภาครัฐ การขึ้นโครงทางการตลาด ทั้งกลุ่มลูกค้า และปัจจัยการอำนวยความสะดวก สร้างสายป่านในประเทศให้ยาว

(3) ยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการ (Upgrade Entrepreneur) มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผู้ประกอบการไทยที่มีความเข้มแข็ง มีมาตรฐานรองรับในด้านต่าง มีแบรนด์ มีชื่อเสียง เพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันจากตลาดภายในประเทศไปสู่ตลาดต่างประเทศ

(4) สร้างความยั่งยืนของผู้ประกอบการไทย (Sustain Entrepreneur) มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพทางการแข่งขันในระดับสากล โดยดารพัฒนาองค์ความรู้แบบมหาลัยของผู้ประกอบการ  ให้สามารถรักษาระดับศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในการยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่ระดับสากลนั้น จะต้องมีการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไทยเพื่อเข้าสู่การเปิดการค้าเสรีระดับสากล รวมทั้งต้องมีการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสร้างโอกาสในการขยายตลาดใหม่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ควรสร้างโอกาสจากความร่วมมือในระดับอาเซียน ซึ่งมีแนวทางดังต่อไปนี้



 


หลังจากนั้นในระดับตลาดโลก
ก็ต้องสร้างความพร้อมข้ามตลาด โดยมีเป้าหมายให้แบรนดดิ่งของไทย
ให้เป็นที่รู้จักในความคิดของคนทั้งโลก

(5) เตรียมความพร้อมสู่การเปิดเสรี (Undertaking Progressive Liberalization) ในส่วนของผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำเป็นที่ต้องเตรียมความพร้อมในการเปิดการค้าเสรี รวมทั้งต้องสร้างกลไกเพื่อป้องกันตลาดภายในประเทศจากผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

(6) สร้างโอกาสในการขยายตลาดใหม่ๆ (Access to Global Market Opportunities) ในการเปิดการค้าเสรีจะทำให้ประเทศไทยเห็นถึงความต้องการที่หลากหลายและมีอยู่จำนวนมาก จึงควรสร้างโอกาสในการหาช่องทางที่จะเข้าถึงตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะในตลาดประเทศเกิดใหม่ รวมถึงตลาดของกลุ่มชนชั้นกลางที่มีแนวโน้มการขยายจำนวนเพิ่มมากขึ้น

(7) สร้างโอกาสจากความร่วมมือ (Access to Global Network Collaboration) ในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน (AEC) เน้นให้ความสำคัญในการยกระดับความร่วมมือจากการประชาคมดังกล่าวโดยมุ่งเน้นการประสานประโยชน์ร่วมกันเป็นสำคัญ


สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น