วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

อุตสาหกรรมนำร่องของไทย


สนับสนุนเนื้อหาโดย
สรุปประเด็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมนำร่อง



H = มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมมาก
M = มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมปานกลาง
L = มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมน้อย

การวิเคราะห์ภาพรวมของอุตสาหกรรมนำร่องข้างต้นจะนำไปสู่การวางแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรม
ภายใต้ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาพรวมของทั้งประเทศตามช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาจะต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ศักยภาพของผู้ประกอบการไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้น และครอบคลุมถึงการแก้ไขอุปสรรคและปัญหาที่พบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดบทบาทไว้ในอนาคต โดยแนวทางการพัฒนาในแต่ละช่วงเวลาของอุตสาหกรรมนำร่องจะแตกต่างกันไป เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรม
รายละเอียดของแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมนำร่องในแต่ละช่วงเวลาคือ
ระยะสั้น (5 ปี)
ระยะกลาง(10 ปี)
และระยะยาว (20 ปี) มีรายละเอียดดังนี้

• อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพและความพร้อมทั้งใน
ด้านของวัตถุดิบและบุคลากรค่อนข้างมาก แนวทางการพัฒนาจึงจำเป็นต้องมุ่งสู่การเป็นฐานการผลิตใน
อาเซียนและขยายช่องทางการตลาดให้เข้าถึงประเทศต่างๆเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการสร้างและประชาสัมพันธ์ตราสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ควบคู่กับการสร้างมาตรฐานการผลิตและเน้น
การสร้างฐานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารต่อไปในอนาคต เพื่อให้เกิดการยกระดับของอุตสาหกรรมอาหารไทยอย่างต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีบทบาทในการเป็นผู้ผลิตตามเจ้าของตราสินค้าที่เป็นบริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุน จึงจำเป็นต้องสร้างแรงงานและโครงสร้างสนับสนุนให้มีความพร้อม เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและขยายไปสู่การส่งเสริมการพัฒนา
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และผลักดันให้เกิดการใช้วัตถุดิบจากภายในประเทศมากกว่าการนำเข้าจาก
ต่างประเทศ

• อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 
บทบาทของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยในปัจจุบันนั้นคือ
การเป็นผู้รับจ้างผลิตจากคำสั่งผลิต แนวทางการพัฒนาจึงจำเป็นต้องยกระดับขีดความสามารถในการ
แข่งขันของผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้นและสร้างความร่วมมือในการขยายเครือข่ายการผลิตไปยัง
ผู้ประกอบการในภูมิภาค เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต จากนั้นต้องส่งเสริมการยกระดับ
ศักยภาพของผู้ประกอบการไทยสู่การออกแบบและการดำเนินการทางตลาดเพื่อสร้างตราสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติต่อไป

• อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง 
ในช่วงแรกนั้นต้องชักชวนผู้ประกอบการให้เข้าสู่อุตสาหกรรมนี้เพิ่ม
มากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ยาง เพราะในปัจจุบันประเทศไทยจะมีการ
ส่งออกยางค่อนข้างมาก แต่เป็นการส่งออกในรูปของน้ำยางซึ่งมีมูลค่าเพิ่มในตัวสินค้าค่อนข้างน้อย ซึ่ง
จำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยางแปรรูป และนำไปสู่การสร้างตราสินค้า
ของไทย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มบทบาทและความสำคัญในอุตสาหกรรมยางในระดับโลกมากขึ้น ทำให้มี
อำนาจในการต่อรองและกำหนดทิศทางราคายาง ตลอดจนการควบคุมกลไกการผลิตยางในอนาคตได้

• อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 
เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเป็นผู้ผลิตและส่งออกในปัจจุบัน การกำหนดแนวทางการพัฒนานั้นจึงมุ่งหน้าสู่การสร้างภาพลักษณ์และการปรับโครงสร้างสนับสนุนต่างๆเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การเป็นผู้นำในการผลิต แปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มที่สำคัญในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไปในอนาคต

• อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 
แนวทางการพัฒนาในระยะสั้นนั้นต้องเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยน
โครงสร้างสนับสนุนให้มีความเหมาะสมต่อการประกอบการธุรกิจ โดยเฉพาะด้านแรงงานและกฎระเบียบ
และก้าวถัดมานั้นต้องมุ่งเน้นสู่การพัฒนาแหล่งวิจัยเทคโนโลยีการออกแบบสินค้าเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง
ขยายการตลาดไปในภูมิภาค และมุ่งสู่การสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าไทยให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ

ในระดับสากล
• อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ 
การพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์นั้นจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างแรงงานฝีมือ
เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทาง ดังนั้นการสร้างแรงงานที่มีทักษะความ
เชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะ จึงเป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่ต้องดำเนินการ ตลอดจนการสร้างตลาด
แม่พิมพ์ในประเทศให้มีการเติบโตขึ้น แล้วขยายไปสู่การเป็นผู้รับจ้างผลิตแม่พิมพ์สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆทั้งจากในและนอกประเทศ ส่วนแนวทางการพัฒนาในระยะยาวนั้นจะสามารถเชื่อมโยงสู่การพัฒนา
ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเครื่อจักรกลได้ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกัน

• อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทน 
เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมใหม่จึงต้องเร่งสร้างนโยบายและมาตรการจูงใจผู้ประกอบการ ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยงานกลางที่ดูแลรับผิดชอบการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทนอย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทนอย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ซื้อเทคโนโลยีสู่การเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรและเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทนต่อไปในอนาคต


สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

บริการให้เช่าเครื่องอัดลม ปั๊มลม ( Second-Hand Screw Compressor )


ทางบริษัทมีเครื่องอัดลมมือสอง ปั๊มลมมือสอง พร้อมอุปกรณ์ประกอบทั้งระบบไว้สำหรับขาย, ให้เช่า และไว้สำหรับบริการเป็นเครื่องสำรองขณะซ่อมหรือ โอเวอร์ฮอร์น ( Atlas Copco, Kaeser มีทั้งแบบ Oil Lubricant & Oil Free ) มีขนาดตั้งแต่ 15-200 แรงม้า สำหรับโรงงานที่ต้องการเช่าเครื่องอัดลมในระยะเวลานาน 3-5 ปี บริษัทฯ สามารถจัดเครื่องใหม่ให้ท่านเช่าพร้อมเครื่องใหม่สำรองในกรณีที่เช่าตั้งแต่ 5 เครื่องขึ้นไป  Ingersoll Rand

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น