วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

สนับสนุนเนื้อหาโดย

        ทางด้านการพัฒนาสินค้าของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับนั้น ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของ
สินค้าที่มีตราสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ตราสินค้าพลอยไทย เป็นต้น รวมไปถึงการพัฒนาภาพลักษณ์ของประเทศ
ให้เป็นผู้ที่สามารถออกแบบสินค้าให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสามารถเป็นผู้กำหนดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของ
แฟชั่นได้ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเน้นการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าอัญมณีและ
เครื่องประดับของโลก โดยสามารถเป็นแหล่งการค้าขายขนาดใหญ่รองลงมาจากฮ่องกง ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานด้าน
ต่างๆ เช่น ระบบภาษีศุลกากร และระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น สามารถรองรับการเป็นแหล่งค้าขายอย่างเสรีได้ใน
อนาคต อีกทั้งยังมีระบบต่างๆ และภาพลักษณ์ต่างๆ ที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ประเทศไทยได้
เช่น ภาพลักษณ์ของความโปร่งใส ซื่อสัตย์ และความเสรีทางด้านการทำธุรกิจ เป็นต้น
จากการกำหนดทิศทางแนวโน้มเป้าหมายของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยดังที่
ได้กล่าวไปแล้วนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแนวทางในการพัฒนาที่ชัดเจน และครอบคลุมในการแก้ไขปัญหา
อุปสรรคและเงื่อนไขบางประการที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศ
ไทยให้หมดไป รวมไปถึงแนวทางการพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมให้มีความก้าวหน้า ทัดเทียมกับนานาชาติ และมี
ความยั่งยืนต่อไปในอนาคต โดยแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยนั้น ได้กำหนดไว้
ทั้งหมด 3 แนวทางหลักที่สำคัญ ได้แก่ (1) บริหารจัดการต้นทุนของวัตถุดิบเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของอุตสาหกรรม (2) สร้างมาตรการด้านการตลาดเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศและยกระดับช่องทางด้าน
การตลาด และ (3) ยกระดับโครงสร้างสนับสนุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยมี
รายละเอียดของการพัฒนาแต่ละแนวทาง ดังต่อไปนี้





(1) บริหารจัดการต้นทุนของวัตถุดิบเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
เพื่อเป็นการบริหารจัดการให้อุตสาหกรรมของประเทศไทยสามารถที่จะมีขีดความสามารถศักยภาพ
ทางการแข่งขันให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยเน้นทางด้านการพัฒนาและบริหารจัดการต้นทุนทางวัตถุดิบเป็น
สำคัญ โดยใช้มาตรการทางด้านภาษีเป็นเครื่องมือในการพัฒนา เน้นการพัฒนาและปรับปรุงมาตรการทางด้านภาษี
เพื่อสนับสนุนให้มูลค่าของต้นทุนวัตถุดิบถูกลง โดยเน้นการพัฒนาใน 2 มาตรการหลักที่สำคัญ ได้แก่

• สนับสนุนมาตรการทางภาษี โดยการปรับปรุงและสร้างมาตรการทางด้านภาษีเพื่อสนับสนุน
บรรยากาศของการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งรวมถึงการกำหนดมาตรการทางด้านภาษีใหม่
และการขยายระยะเวลาการดำเนินการใช้มาตรการภาษีที่ได้กำหนดขึ้นแล้ว
• บริหารจัดการวัตถุดิบ เพื่อสร้างระบบการหมุนเวียนวัตถุดิบภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการ
สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศพม่า กัมพูชา ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ
รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบุคลากรระหว่างกัน เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพ
ที่ดี และบรรยากาศของความเป็นมิตรที่ดีระหว่างกัน


(2) สร้างมาตรการด้านการตลาดเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศและยกระดับช่องทางด้านการตลาด
เพื่อเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในการเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติว่าเป็นศูนย์กลาง

ของแหล่งการค้าขายและแลกเปลี่ยนอัญมณีและเครื่องประดับ และเป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับที่มีคุณภาพ มีความประณีต และมีเอกลักษณ์ เพื่อให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ทัดเทียมนานาชาติ โดย
เน้นการพัฒนาใน 2 มาตรการหลักที่สำคัญ ได้แก่
• ยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศไทย โดยเน้นการสร้างภาพลักษณ์และยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่
การสร้างตราสินค้าของผู้ประกอบการไทยให้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ เพื่อเป็นการสนับสนุน
ให้ผู้ประกอบการสร้างตราสินค้าของตนเอง และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในฐานะที่เป็น
แหล่งของการออกแบบและการผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์
• ส่งเสริมการตลาดต่างประเทศ โดยเน้นการยกระดับงานแสดงสินค้า Bangkok Gems ให้มี
ศักยภาพทัดเทียมกับระดับนานาชาติ เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับช่องทางทางด้านการตลาด
ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการประชาสัมพันธ์สินค้าอัญมณีและ
เครื่องประดับของประเทศไทย โดยการสร้างตราสัญลักษณ์ให้แก่สินค้าที่ได้มาตรฐานที่เป็นที่
ยอมรับ เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภคอีกด้วย โดยเฉพาะเรื่องราวของตราสินค้า
“พลอยไทย (Ploi Thai)”

(3) ยกระดับโครงสร้างสนับสนุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
ผลักดันให้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการบริหารจัดการทางด้านนโยบายที่เกี่ยวข้อง
และแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน โดยเน้นการเชื่อมโยงและบูรณาการ
ระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีการรวมศูนย์การบริหารจัดการ และการดูแลอุตสาหกรรมให้เป็นหนึ่งเดียว รวมถึง
การรับรองมาตรฐานของอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
ของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ โดยเน้นการพัฒนาใน 2 มาตรการหลักที่สำคัญ ได้แก่

• พัฒนาระบบบริหารจัดการ โดยเน้นการพัฒนาแนวทางให้มีการบูรณาการทิศทางการพัฒนาให้
เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในภาพรวมของประเทศ และมี
แนวทางการพัฒนาที่ชัดเจนในช่วงระยะเวลา ได้แก่ การจัดตั้งหรือกำหนดหน่วยงานภาครัฐที่มี
หน้าที่หลักในการดูแลอุตสาหกรรมโดยตรง และมีงบประมาณในการพัฒนา การกำหนดนโยบาย
และแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ชัดเจนทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อ
สร้างความเชื่อมั่นและเป็นแนวทางให้แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงการกำหนดมาตรฐานและให้การ
รับรองมาตรฐานของคุณภาพโรงงานการผลิต เพื่อให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล และเพิ่ม
ประสิทธิภาพการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยอีกด้วย

• ส่งเสริมศักยภาพบุคลากร โดยเน้นการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และพัฒนาบุคลากรใน
ด้านต่างๆ โดยร่วมกับสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการอาชีวะศึกษา เช่น การ
พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้อง และหลักสูตรอบรมระยะสั้น การสร้างสถาบันการศึกษาที่ เน้นการพัฒนานักออกแบบ และการสนับสนุนให้มีการแข่งขันเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านการออกแบบและการผลิตเครื่องประดับที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก นอกจากนี้การให้การสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อเป็นการสร้างเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยดำเนินการภายใต้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกแล้วนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม

           การพัฒนาอุตสาหกรรมในแนวทางดังทีได้กล่าวมาเบื้องต้นนี้ จำเป็นที่จะต้องมีการวางกรอบระยะเวลาใน
การพัฒนาที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและต่อเนื่องของการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรมและมี
ทิศทาง และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ประเทศไทยยังคงมี
บทบาทในการเป็นผู้ผลิตหลักของโลก รวมถึงการจะพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ
ของโลกในอนาคตต่อไป



Combining a deep ancient tradition, excellent craftsmanship and sophisticated modern technology, Thailand’s gems and jewelry industry sparkles among the world’s finest. With natural resources and superior production capability, the country is a leader in cutting and polishing, innovative design and quality control. Thailand has a rich history in gems and jewelry. Hundreds of years ago, the Thai people drew from their natural artistic flair and started incorporating rubies, sapphires and other local gem resources into jewelry. Gold- and silversmiths also began honing their skills. Boomtowns sprouted up, such as Chantaburi, famous for its rubies and sapphires. The dazzling red “Siamese rubies” hail from there. Kanchanaburi Province is likewise known for extensive deposits of blue sapphires. As practitioners applied skills handed down through generations, a cottage industry formed in various provinces, with the business aspects gradually coalescing in Bangkok. Over time, modern advancements in manufacturing techniques helped the country gear up as a global production and trade center.

สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น