วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อุตสาหกรรมแม่พ่พิมพ์โลก VS แม่พิมพ์ไทย




สนับสนุนเนื้อหาโดย


     อุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นที่รองรับอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญเกือบทุกประเภท เนื่องจากการผลิตสินค้าหลายสาขาจำเป็นต้องอาศัยแม่พิมพ์ (Mould) ในการขึ้นรูปและกำหนดรูปร่างผลิตภัณฑ์ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและขนาดตามความต้องการทั้งสิ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงอุตสาหกรรมอื่นๆทั้งหมด





ทิศทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมแม่พ่พิมพ์โลก

1. บริษัทผู้ผลิตแม่พิมพ์จะเน้นการรปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดระยะเวลาในการผลิต
แม่พิมพ์ให้สั้นลง (Rapid production development cycle) เพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์
และสินค้าใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

2. ผู้ผลิตแม่พิมพ์จะลงทุนในเครื่องจักร อุปกรณ์ ที่มีระบบโปรแกรม CAD CAM รองรับในการ
การออกแบบ และเชื่อมโยงการเครื่องจักรในการผลิตแม่พิมพ์เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการ
ผลิต

3. การผลิตแม่พิมพ์ทจะมีความแม่นยำและเที่ยงตรงมากขึ้น โดยขนาดแม่พิมพ์จะมีขนาด เล็ก
ลงในระดับขนาดไมโครเมตรหรือขนาดเล็กกว่า (Micro Mould Micro die) เพื่อรองรับความ
ต้องการสินค้าที่มีขนาดเล็กลงเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องมือทางการแพทย์ และอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์

4. ทิศทางเครื่องจักรที่ใช้ในแม่พิมพ์จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพื่อจะรองรับ Multi-cavity mold

5. แม่พิมพ์จะมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น

6. เครื่องจักรจะมีการพัฒนาในการรองรับการใช้วัตถุดิบต่างๆ เช่น carbide, เซรามิก, คอมโพ
สิต

7. การพัฒนาผิวแม่พิมพ์ จะมีความสำคัญมากขึ้น (surface treatment technology) ในการยืด
อายุการใช้งานของแม่พิมพ์ เช่น การใช้วัสดุจาก aluminum alloy เพื่อช่วยในการลด
ระยะเวลาในการผลิตและลดต้นทุน

8. เครื่องจักรในการการหล่อขึ้นรูป (Mould) จะมีทิศทางการใช้ระบบเครื่องจักรที่ใช้แรงดันสูง

9. ปัจจัยหลักในการขยายตัวของอุตสาหกรรมจะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยาน
ยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์,อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหลัก






ทิศทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมแม่พ่พิมพ์ไทย


1.อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยจะก้าวไปสู่การผลิตที่เน้นความแม่นยำ ความ
เที่ยงตรงและซับซ้อนสูง (Medium-High precision) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยาน
ยนต์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

2. ภาคอุตสาหกรรมจะมีการนำเทคโนโลยีเชื่อมโยงกระบวนการผลิต เพื่อทำให้
ระยะเวลาผลิตรวดเร็ว และมีความเที่ยงตรง แม่นยำมากขึ้น

3. ตลาดแม่พิมพ์ที่มีความละเอียดปานกลางจะขยายาไปสู่ความละเอียดสูงเพิ่มมาก
ขึ้น

4. อุตสาหกรรมจะมีหน่วยงานกลางหลักในการบริหารจัดการ และรับรองคุณภาพและ
มาตรฐานการผลิตแม่พิมพ์ที่เทียบเท่ากับระดับสากล

5. มีการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ ทำให้เกิดการพัฒนาสู่แม่พิมพ์ทุกระดับ

6. อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์การพัฒนาผิว
แม่พิมพ์ (surface finishing polishing) และเป็นที่รู้จักของผู้ผลิตในต่างประเทศ

7. ผู้ประกอบการแม่พิมพ์ไทยจะสามารถรองรับการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ของ
บริษัทต่างชาติได้อย่างมีมาตรฐานและจะขยายตลาดภายในประเทศ และขยาย
ตลาดต่อเนื่องสู่ตลาดต่างประเทศในอนาคต เป็นผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มมาก
ขึ้นและมูลค่าการนำเข้าแม่พิมพ์จากต่างประเทศลดลง

8. อุตสาหกรรมแม่พิมพ์จะมีระบบการพัฒนาบุคลากทั้งในและนอกระบบการศึกษา
เพื่อรองรับความต้องการของตลาด โดยมีมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพรองรับกับ
ค่าตอบแทน


ปัญหาและอุปสรรค

1. ขาดแคลนแรงงานพื้นฐาน โดยเฉพาะในระดับอาชีวศึกษาที่มีความรู้พื้นฐานสำหรับการผลิตแม่พิมพ์
2. ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทางของแม่พิมพ ์โดยเฉพาะวิศวกรออกแบบแม่พิมพ์และแรงงานในการขัดผิวแม่พิมพ์
3. สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิชาแม่พิมพ์มีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรม
4. ครุภัณฑ์(เครื่องจักร,ซอท์ฟแวร์)ที่ใช้ในการสอนไม่ทันสมัยและไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้
5. ขาดเครื่องวัดที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์ รวมทั้งไม่มีสถาบันที่รับรองมาตรฐานและคุณภาพของแม่พิมพ์
6. ช่องทางการปล่อยสินเชื่อถูกจำกัด เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
7. อัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรสูง และผู้ประกอบการขาดการสนับสนุนด้านการลงทุน ทำให้ไม่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ได้อย่างเต็มที่และทัดเทียมกับประเทศคู่แข่ง
8. ขาดการวางแผนกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ระยะการผลิตใช้เวลานานเกินสมควร
9. วัตถุดิบในการผลิตแม่พิมพ์มีไม่เพียงพอ มีต้นทุนค่อนข้างสูง และไม่สามารถจัดหาได้ภายในประเทศ
10.ขาดการสนับสนุนด้านเงินลงทุน สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีและรูปแบบการผลิตแม่พิมพ์
11.ผู้ประกอบการขาดความเข้มแข็ง อีกทั้งผู้ประกอบการส่วนมากจะเน้นการทำงานอย่างเบ็ดเสร็จภายในที่เดียว ขาดการรวมกลุ่มเพื่อแบ่งงานและพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกัน
12.ไม่มีการจัดการองค์ความรู้ เทคนิควิธีการและการแก้ไขปัญหาในการผลิตแม่พิมพ์ รวมถึงขาดคู่มือและการถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคลากรภายในอุตสาหกรรม
13. ขาดการทำตลาดเชิงรุก ทำให้ไม่สามารถสร้างและขยายตลาดในต่างประเทศได้
14.ต่างชาติไม่เชื่อมั่นในคุณภาพของการผลิตแม่พิมพ์หรือการขัดผิวแม่พิมพ์ไทย เนื่องจากขาดการรับรองมาตรฐานและคุณภาพการผลิตแม่พิมพ์ของไทย


ปัจจุบันไทยมีโรงงานแม่พิมพ์ราว 1,061 โรงงาน ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อแม่พิมพ์โลหะ และแม่พิมพ์พลาสติก
“จุดเริ่มต้นในการสนับสนุนอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม เกิดจากภาครัฐเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนในประเทศให้มีศักยภาพทัดเทียมต่างชาติ สามารถผลิตแม่พิมพ์ชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ เชื่อมโยงการผลิตครบทั้งซัพพลายเชนภายในประเทศ และป้อนอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์เป้าหมายที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากต่างชาติเข้ามาลงทุน” จิรศักดิ์ เยาว์วัชสกุล ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมันกล่าว 


สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook
 
Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น